การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
12 และใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำเฉพาะอย่างเฉพาะชนิดใช้เครื่องมือประมงหลากหลายชนิดหมุนเวียน ตามฤดูกาลสัตว์น้ำ” โดยเป็นวิชาชีพหนึ่งของสังคมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว (สมาคม สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย, 2564) การจัดการประมงพื้นบ้านยังมีปรากฎในจรรยาบรรณในเรื่องการทำประมงอย่างรับผิดชอบของ องค์ก ารอาห ารและ เกษตรแห่งสหประชาชาติ พ .ศ . 2538 ( FAO Code of conduct for responsible fisheries) จรรยาบรรณดังกล่าวมีสาระสำคัญในการกำหนดหลักการและมาตรฐาน ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ การจัดการ และการพัฒนาการประมงที่ครอบคลุมถึงการจับ กระบวนการ แปรรูปและการค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การวิจัยทางการประมง และ การผสมผสานการประมงกับการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ถือเป็นข้อตกลงที่ประเทศสมาชิกองค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ รับรองและนำไปปฏิบัติด้วยความสมัครใจไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ระหว่างประเทศ (สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ, 2542) ประเทศไทยเมื่อมีการรับรองในฐานะสมาชิกขององค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณฉบับนี้ ได้กำหนดกฎหมายที่เกี่ยวกับหลักการทั่วไป ตามมาตรา 6 โดยให้ความสำคัญของการประมงพื้นบ้านและการประมงขนาดเล็กต่าง ๆ ในการ จ้างงาน รายได้ และความมั่นคงด้านอาหาร รัฐควรคุ้มครองอย่างเหมาะสมในสิทธิของชาวประมงและ คนงานประมง โดยเฉพาะผู้ที่ทำประมงเพื่อการยังชีพ การประมงขนาดเล็กและการประมงพื้นบ้าน ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงและการดำรงชีพที่ดี รวมทั้งการสนับสนุนสิทธิในการใช้แหล่งประมงพื้นบ้านและ ทรัพยากรในน่านน้ำภายใต้อำนาจอธิปไตยของตนตามความเหมาะสม นอกจากนี้ มาตรา 7 กำหนดถึงการจัดการประมง ที่มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1) รัฐและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการประมงทั้งหมดควรจัดทำมาตรการเพื่อการอนุรักษ์ ในระยะยาวและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกรอบด้านนโยบาย กฎหมายและองค์กรที่เหมาะสม มาตรการอนุรักษ์และจัดการนี้ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่น ระดับชาติระดับอนุภูมิภาค หรือระดับภูมิภาค ควรอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุด เท่าที่จะหาได้และควรกำหนดขึ้นเพื่อรับรองความยั่งยืนตลอดไปของทรัพยากรประมงในระดับ ที่ส่งเสริมวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด และคงรักษาไว้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การพิจารณาเพื่อผลระยะสั้นนั้นไม่ควรตัดรอนวัตถุประสงค์นี้ 2) ภายในเขตอำนาจรัฐ รัฐควรแสวงหากลุ่มบุคคลในประเทศที่มีความสนใจอันชอบ ด้วยกฎหมายในการใช้ประโยชน์และการจัดการทรัพยากรประมงและดำเนินการจัดหาแนวทาง ในการปรึกษาหารือกลุ่มบุคคลเหล่านี้เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการบรรลุผลจากการทำประมง อย่างรับผิดชอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการ โดยตระหนักว่าการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในระยะยาว นั้นเป็นวัตถุประสงค์หลักของการอนุรักษ์และการจัดการ นอกจากกิจกรรมอื่น ๆ แล้ว รัฐและองค์กร หรือข้อตกลงจัดการประมงระดับอนุภูมิภาคหรือภูมิภาคควรยอมรับมาตรการที่เหมาะสมโดยอาศัย พื้นฐานของหลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อรักษาหรือฟื้นฟูประชากรไว้ ที่ระดับซึ่งสามารถก่อให้เกิดปริมาณผลผลิตสูงสุดอย่างยั่งยืน ตามภาวะที่เหมาะสมกับปัจจัยทางด้าน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ รวมทั้งความต้องการโดยเฉพาะของประเทศกำลังพัฒนา สำหรับมาตรการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3