การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

231 ทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มา มีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้ วยการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) ประชาก รในการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสาคัญกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ผู้นาชุมชน และผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ในเขตการทาประมงพื้นบ้านพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และจังหวัดปัตตานี เนื่องจากบริบทของพื้นที่เหล่านี้แสดงให้เห็นถึ งความ หลากหลายของระบบนิเวศธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างหลากหลายทางด้านสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศาสนา และวัฒนธรรมของผู้คนที่ผสมผสานกัน เพื่อนาข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เพื่อการหา แนวทางร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ลดความขัดแย้ง นาไปสู่การจัดการทรัพยากร ร่วมกันของคนในพื้นที่ให้เกิดความเป็นธรรมและอนุรักษ์การทาประมงพื้นบ้านทางทะเลให้ยั่งยืน อีกทั้งยัง มีการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus Group) โดยนาสิ่งที่ค้นพบจากพื้นที่จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดปัตตานี มาระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจงในพื้นที่ จังหวัดสงขลา ประชากรในการสนทนาประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสาคัญกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นาชุมชน และผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้เกี่ยวข้อง โดยตรง (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อจัดทาร่าง ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ จากนั้นจึงนาร่างดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็น (Hearing) แก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ได้ร่างที่สมบูรณ์ ผลการดาเนินงาน ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล เป็นความขัดแย้ง เรื่องพื้นที่ทาการประมงทางทะเลหลายจังหวัดในประเทศไทย เกิดจากการเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ประมง รัฐเปิดโอกาสให้บุคคลครอบครอง มีกลุ่มทุนทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาจับจอง เกิดการซื้อขาย สิทธิพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเล ทาให้ชาวประมงพื้นบ้านทั่วไปไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านเปลี่ยนไป ความขัดแย้ง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการจัดการและ บังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้ารัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทาให้มีกลุ่มทุนทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาจับจอง ซื้อขายสิทธิในพื้นที่สาธารณประโยชน์ของรัฐ แนวคิดการจัดการความขัดแย้ง หากใช้วิธีประนีประนอม หรือแบ่งคนละครึ่งเป็นวิธีการประสานความร่วมมือ ทาให้ผู้ตัดสินหรือผู้พูดรู้สึกสบายใจว่ายุติธรรมที่สุดแล้ว หรือใช้วิธีการร่วมมือกันที่คู่เจรจาพยายามร่วมกันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ความต้องการ เป็นการประสาน ผลประโยชน์ออกมาที่ทั้งสองฝ่ายหรือหลาย ๆ ฝ่ายพึงพอใจ หรือใช้วิธีการไกล่เกลี่ยอาศัยวิธีการเจรจา โดยยึดจุดสนใจหรือประสานผลประโยชน์ของทุกฝ่าย เป็นทางออกที่ดีที่สุด นอกจากนี้ปัญหาลักลอบใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับพื้นที่ใกล้เคียง แม้จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาจัดการแต่ก็ไม่เป็นผล เกิดการชุมนุมประท้วง หากนากระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนที่ตกลงร่วมกันจัดทาข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลและแก้ปัญหาการใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ได้ในที่สุด เห็นว่าการให้ชุมชนท้องถิ่นซึ่งผู้มีส่วนได้เสียกาหนดรูปแบบและวิธีจัดการทรัพยากร โดยกาหนดกฎกติการ่วมกัน ให้สิทธิทุกคนเข้าถึงทรัพยากรสัตว์น ้าได้อย่างเท่าเทียม และเคารพกฎกติกา ที่ตกลงร่วมกัน สามารถยุติปัญหาความขัดแย้งได้ กฎกติกาเป็นเพียงข้อตกลงไม่มีผลเป็นการบังคับใช้ เป็นกฎหมาย ข้อตกลงหรือกติกาของชุมชนแต่รับรู้เฉพาะในชุมชนเท่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหา อย่างบูรณาการ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และชาวประมงพื้นบ้าน ผู้นาชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง ต้องมีส่วนร่วมเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อน สาหรับรูปแบบการจัดการของผู้ทา ประมงพื้นบ้าน พบว่ามีภาคประชาสังคมช่วยสร้างช่องทางขายสัตว์น ้าโดยชาวประมงพื้นบ้านขายในราคาที่ เป็นธรรมให้กับผู้บริโภคได้รับอาหารปลอดภัยปราศจากสารฟอร์มาลีน พัฒนาเป็นร้านคนจับปลา กาหนด มาตรฐานบูลแบรนด์ เป็นหลักประกันให้ผู้บริโภค โดยสมาคมรักษ์ทะเลไทย องค์กรพัฒนาเอกชน สนับสนุนส่งเสริมการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าสินค้าจากการทาประมง ช่วยผลักดันมาตรฐาน รับรองสินค้าจากการทาประมงให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ยกระดับราคาสินค้าสร้างความแตกต่างระหว่าง การทาประมงแบบไม่ยั่งยืนกับการทาประมงแบบยั่งยืนผสมผสานกัน สาหรับประเด็นรูปแบบการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล พบว่า ทรัพยากรสัตว์น ้า ลดลง ประกอบการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย การถูกจากัดด้านพื้นที่ทาการประมง ส่งผลให้มีรายได้ ลดลง กาหนดกฎกติการ่วมกันตามวิถีของชาวบ้าน โดยใช้ต้นทุนจากฐานทรัพยากรที่มีอยู่ของแต่ละชุมชน การทากิจกรรมสร้างบ้านปลา กาหนดแนวเขตอนุรักษ์หน้าบ้าน สร้างกฎกติกาชุมชน หรือทาธนาคาร สัตว์น ้า มีหลายชุมชนประสบความสาเร็จ ขณะที่หลายชุมชนล้มเหลว ส่วนพื้นที่จังหวัดปัตตานี สร้างแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากร 4 แนวทาง ได้แก่ การทาธนาคารสัตว์น ้าชุมชน การวางซั้งกอ บ้านปลา การกาหนดแนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรหน้าบ้าน และที่สาคัญได้สร้างกฎกติกาของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน โดยห้ามทาประมงในเขตอนุรักษ์ด้วยเครื่องมือทุกชนิด กาหนดโทษ และ ทุกวันศุกร์ห้ามออกทาประมง หลังจากประกาศใช้กฎกติกาดังกล่าวสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือจานวนสัตว์น ้า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3