การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
232 เพิ่มมากขึ้น ส่วนประมงพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา พบว่า สร้างแหล่งอาศัยและพื้นที่หลบภัยของสัตว์น ้า ทาเป็น บ้านปลา 3 รูปแบบ คือ 1) การจัดวางซั้ง แบบทุ่นริมชายฝั่ง 2) วางจัดวางซั้ง แบบไม้ไผ่นอกชายฝั่ง และ 3) การทาคอกซั้งบ้านปลาในทะเลสาบสงขลา ทั้ง 3 รูปแบบมีเป้าหมายเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนและฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลประสบความสาเร็จ และได้ขยายแนวทางไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ทาให้ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งมีความสมบูรณ์ระบบนิเวศทางทะเลดีขึ้น ส่งผลให้ทาประมงได้มากขึ้น สัตว์น ้าที่จับได้มีหลากหลาย และได้ปลาขนาดใหญ่ขึ้นช่วยสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ลดปัญหาความขัดแย้ง เน้นการมีส่วนร่วมของ คนในชุมชนเป็นหลักในการดาเนินการ สอดคล้องกับภารกิจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ส่งเสริมการมี ส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการ การปลูก การบารุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดังนั้น การให้สิทธิกับประชาชนเข้าชื่อเสนอการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นจึงสามารถทาได้ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 254 กาหนดรองรับสิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น การจัดทาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทะเล อย่างยั่งยืน ได้รวมรวมข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมที่เป็น แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายฉบับ ต่างทั้งของไทยและต่างประเทศมาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลที่การวิจัยได้กาหนดไว้ด้วยวิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเจาะจง การรับฟังความคิดเห็น เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ในการนาประเด็นที่เป็นสาระสาคัญ และได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ตามข้อเสนอแนะในการรับฟังความคิดเห็นแล้วจึงได้ ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน พ.ศ. .... โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวด จานวน 23 ข้อ ได้แก่ หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 คณะกรรมการ หมวด 3 การอนุรักษ์ หมวด 4 กองทุน และหมวด 5 บทลงโทษ นอกจากนี้ได้ปรับแก้ไขอัตราโทษสาหรับผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 60 วรรคสอง และพระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. 2537 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าว ผลการวิจัยนี้เป็น นวัตกรรม ทางกฎหมายในรูปแบบของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเกี่ยวกับจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเล สามารถไปประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมประมง กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านทางทะเลชายฝั่ง ประโยชน์ของผลงานวิจัย 1. ได้รูปแบบการจัดการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลเพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จากการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล 2. ได้รับทราบกฎหมายไทยและต่างประเทศ เพื่อนาไปประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างบูรณาการ 3. ได้รับนวัตกรรมทางกฎหมายในรูปแบบของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเกี่ยวกับจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านทางทะเลร่วมกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3