การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
13 เช่นว่านั้นควรกำหนดโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาวประมง รวมถึงผู้ที่ดำรงชีพด้วยการทำประมง แบบยังชีพ การประมงขนาดเล็ก และการประมงพื้นบ้าน เมื่อพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรประมง ควรจะได้รับการยอมรับตามความเหมาะสมและตามกฎระเบียบข้อบังคับของรัฐเกี่ยวกับธรรมเนียม ปฏิบัติ ความต้องการและผลประโยชน์ของคนท้องถิ่นและชุมชนประมงท้องถิ่นซึ่งพึ่งพาทรัพยากร ประมงในการดำรงชีพเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะสร้างหลักประกันให้กับผู้ประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน โดยการการผสมผสานการประมงกับการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง รัฐควรสร้างกรอบ นโยบาย กฎหมายและองค์กรที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับเพื่อให้บรรลุผลในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และผสมผสาน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความบอบบางของระบบนิเวศชายฝั่ง และภาวะจำกัดของ ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนความต้องการของชุมชนชายฝั่ง โดยที่มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชายฝั่ง อย่างอเนกประสงค์ รัฐควรทำให้แน่ใจว่าตัวแทนของภาคประมงและชุมชนประมงได้รับการหารือ ในกระบวนการตัดสินใจและเกี่ยวข้องในกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวกับการวางแผนการจัดการและพัฒนาพื้นที่ ชายฝั่ง รัฐควรพัฒนากรอบองค์กรและกรอบทางกฎหมายตามความเหมาะสม เพื่อกำหนดการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งเท่าที่จะเป็นไปได้ และเพื่อควบคุมการเข้าไปใช้ประโยชน์นั้น โดยคำนึงถึง สิทธิของชุมชนประมงชายฝั่ง และวิถีปฏิบัติตามจารีตประเพณีของเขาเหล่านั้น ตามขอบเขต อันสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน รัฐควรอำนวยความสะดวกในการยอมรับวิธีปฏิบัติทางด้าน การประมงที่หลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้ทรัพยากรประมง และระหว่างพวกเขาเหล่านั้นกับผู้ใช้ พื้นที่ชายฝั่งอื่น ๆ รัฐควรส่งเสริมการจัดทำกระบวนการและกลไกในระดับบริหารที่เหมาะสมเพื่อใช้ ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในภาคประมง และระหว่างผู้ใช้ทรัพยากรประมงกับผู้ใช้พื้นที่ชายฝั่งอื่น ๆ มาตรการทางด้านนโยบาย รัฐควรส่งเสริมการสร้างความตื่นรู้สาธารณะเกี่ยวกับความจำเป็น ในการคุ้มครอง และการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง และการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการของ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการจัดสรรและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่ง รัฐควรส่งเสริมการประเมินคุณค่าของทรัพยากรชายฝั่งแต่ละชนิด โดยคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในการกำหนดนโยบายเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งนั้น รัฐควรคำนึงถึงความเสี่ยง และความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องด้วย รัฐควรจัดทำหรือส่งเสริมการสร้างระบบเพื่อติดตามตรวจสอบผล ด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งตามความสามารถ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการชายฝั่ง ซึ่งใช้ตัวแปรเสริมทั้งทางด้านกายภาพ เคมี ชีววิทยา เศรษฐกิจและสังคม รัฐควรส่งเสริมการวิจัย แบบสหวิชา เพื่อสนับสนุนการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ชีววิทยา เศรษฐกิจ สังคม กฎหมายและองค์กรที่เกี่ยวข้อง การนำมาใช้ปฏิบัติ รัฐควรสร้างกลไกเพื่อการร่วมมือและประสานงานกันระหว่างองค์กรของรัฐ ที่เกี่ยวข้องในการวางแผน การพัฒนา การอนุรักษ์ และการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง รัฐควรทำให้มั่นใจว่า องค์กรที่เป็นตัวแทนภาคประมงในกระบวนการการจัดการชายฝั่งนั้นมีขีดความสามารถทางวิชาการ และทรัพยากรทางการเงินอย่างเพียงพอ อาจเห็นได้ว่าสาระสำคัญจรรยาบรรณในเรื่องการทำประมงอย่างรับผิดชอบขององค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2538 (FAO Code of conduct for responsible fisheries) เป็นข้อตกลงร่วมกันที่มีการกำหนดหลักการและมาตรฐานที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ การจัดการ และ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3