การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
14 การพัฒนาการประมงเอาไว้ มีการกล่าวถึงการจัดทำมาตรการเพื่อการอนุรักษ์ การจัดการ และการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับท้องถิ่น โดยอาศัยหลัก วิชาการ กรอบกฎหมาย และองค์กรที่เหมาะสมเข้ามาจัดการ ส่วนสำคัญจะต้องคำนึงถึงความต้องการ และผลประโยชน์ของชาวประมงที่ดำรงชีพด้วยการทำประมงแบบยังชีพ การประมงขนาดเล็ก การประมงพื้นบ้าน คนท้องถิ่น และชุมชนประมงท้องถิ่น ที่พึ่งพิงทรัพยากรประมงให้เข้ามามีส่วน ในการตัดสินใจ วางแผน การจัดการ การพัฒนา การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จะต้องคำนึง สิทธิของชุมชนชายฝั่งตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักเลี่ยงความขัดแย้ง หรือใช้กลไกการระงับ ข้อพิพาทที่เหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการประสานงานกัน แนวปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการทำงานกับชาวประมงขนาดเล็กอย่างยั่งยืนโดยสมัครใจ ในบริบทของความมั่นคงทางอาหารและการขจัดความยากจน (Voluntary guidelines for securing sustainable small-scale fisheries) หรือ VGSSF เป็นแนวทางที่ได้รับการพัฒนาภายใต้กรอบ จริยธรรมหรือจรรยาบรรณการทำประมงอย่างรับผิดชอบขององค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) แนวทางดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและใช้สนับสนุน บทบาทของชาวประมงขนาดเล็กทั้งระดับประเทศและระดับโลกสำหรับแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งครอบคลุมถึงแรงงานและกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมง อย่างไรก็ดีแนวทาง VGSSF เป็นทางเลือกการพัฒนาภาคประมงแนวทางหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงความสมัครใจและเน้ นไปที่ ประเทศกำลังพัฒนา อาชีพการประมงขนาดเล็กและกิจกรรมทางเศรษฐกิจตั้งแต่ก่อนทำการประมง ไปจนถึงหลังการทำประมงมีส่วนสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ถึงแม้อาชีพ การประมงอาจถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลเพียงอย่างเดียว แต่กลุ่มชาวประมง ยังคงต้องการเข้าถึงสิทธิในการใช้ทรัพยากรที่ดินบริเวณชายฝั่ง เพราะชาวประมงจะใช้พื้นที่ บริเวณดังกล่าวสร้างที่อยู่อาศัยและดำเนินกิจกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ การประมง ที่ผ่านมาการพัฒนาภาคการประมงในหลายพื้นที่ทั่วโลกขาดการมีส่วนร่วมและ รวมศูนย์อำนาจ นำไปสู่การใช้ทรัพยากรเกินศักยภาพการผลิต (สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย, 2564) สำหรับประเทศไทยแม้จะเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับชั้นนำของโลก แต่ทรัพยากรประมง ในทะเลไทยอยู่ในสภาวะเสื่อมโทรม เมื่อทั้งทรัพยากรทั้งในทะเลไทยและชายฝั่งเสื่อมโทรมลง ทางเลือกหนึ่งของชาวประมงคือการออกไปทำประมงนอกน่านน้ำ แต่ก็ทำได้เฉพาะประมงพาณิชย์ ส่วนใหญ่ของเรือประมงไทยเป็นประมงขนาดเล็ก ใช้เรือมีเครื่องยนต์นอกเรือ ทำประมงใกล้ฝั่ง มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ออกทำประมง ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทะเลจึงเป็นปัญหามากที่สุดสำหรับ ชาวประมงขนาดเล็ก ซึ่งด้อยทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่นนอกจากการประมง จากการรายงาน ข้อมูลสถิติเรือประมงไทย ปี 2564 พบว่า จำนวนเรือประมง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีจำนวน 61,832 ลำ แบ่งเป็นเรือประมงพื้นบ้าน จำนวน 51,237 ลำ และเป็นเรือประมงพาณิชย์ จำนวน 10,595 ลำ (กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กลุ่มสถิติการประมง, 2564) จะเห็นได้ว่าสัดส่วน ของเรือประมงพื้นบ้านมีจำนวนมากกว่าเรือประมงพาณิชย์ การทำประมงเป็นการผลิตที่แตกต่างจากการผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเป็น การเก็บหาสัตว์น้ำจากธรรมชาติแบบเดียวกับการหาของป่าหรืออาชีพล่าสัตว์ดั้งเดิม ส่วนผลผลิต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3