การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

15 ทางการเกษตรอื่น ๆ นั้น ต้องลงทุนเพาะปลูกสร้างผลิตผลให้เกิดขึ้นก่อน ด้วยเหตุผลดังกล่าว การทำประมงจะดีหรือไม่ดี ยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืน จึงขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บหาหรือเครื่องมือการจับสัตว์น้ำ เป็นสำคัญ (สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย, 2564) การทำประมงผิดกฎหมาย หรือความขัดแย้งระหว่างประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน หรือ การที่ต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น ล้วนเป็นผลมาจากปัญหาการจัดการทรัพยากรประมง ซึ่งเป็น ทรัพย์สินร่วม (Common property) ที่ทุกคนมีสิทธิเข้าใช้ แต่ไม่มีผู้ที่มีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน (Property right) อย่างชัดเจน จึงขาดผู้ดูแลบำรุงรักษา เมื่อยังมีความอุดมสมบูรณ์มีผู้เข้าทำประมง มากจนจับสัตว์น้ำขึ้นมามากกว่าศักยภาพการผลิต ส่งผลให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมลง จำเป็นที่รัฐ ต้องเข้ามาจัดการให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน (เรืองไร โตกฤษณะ, 2548) เห็นว่ารัฐควรอาศัยการจัดการประมงเชิงชุมชน (Community based fishery management) เข้ามาช่วยในการจัดการ โดยรัฐมีบทบาทเป็นผู้ร่วมจัดการ (Co-management) การจัดการประมงเชิงชุมชนจะเป็นการแก้ปัญหาการจัดการโดยให้สิทธิการทำประมงแก่ชุมชนประมง ชายฝั่ง วิธีนี้ช่วยลดปัญหาการขาดกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินร่วมซึ่งทำใ ห้ชาวประมงเร่งการ ลงแรงประมง เพื่อให้ได้สัตว์น้ำที่เป็นทรัพย์สินร่วมมาเป็นของตนให้มากที่สุด จนทรัพยากรเสื่อมโทรม เมื่อมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน ชาวประมงจะมีแรงจูงใจที่จะรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรไว้ เพื่อให้ตนมีสัตว์น้ำไว้ใช้ได้อย่างยั่งยืน สนใจที่จะทำประมงในลักษณะที่ไม่ทำลายความสมบูรณ์ ของทรัพยากร ชาวประมงซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับทรัพยากรประมงที่ตนใช้ประโยชน์ ซึ่งมีลักษณะการทำประมงโดยใช้เครื่องมือประมงหลากชนิด (Multi species – Multi gears) จึงเป็นการยากที่รัฐจะติดตามควบคุมได้ตลอด การให้สิทธิทำประมงแก่ชุมชน โดยให้ชุมชนบริหาร จัดการการประมงในชุมชนของตน เปิดโอกาสให้ชาวประมงเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ วางแผน จัดการการประมง จะช่วยให้ชาวประมงยอมรับและปฏิบัติตามข้อบังคับที่วางไว้มากขึ้น ลดความขัดแย้งเกี่ยวกับการทำประมงในระดับชุมชนลง การติดตามและตรวจสอบในระดับชุมชน ทำได้สะดวกกว่าที่จะทำโดยรัฐซึ่งมีกำลังอยู่จำกัด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้คือการละเมิดสิทธิทำประมงและกฎระเบียบโดยคน นอกชุมชน จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐในลักษณะการจัดการร่วม (Co-management) แต่ทั้งนี้ รัฐควรมีบทบาทเป็นผู้เสริมมากกว่าที่จะเป็นผู้นำ และเข้ามามีบทบาทป้องกันและแก้ไขข้อพิพาท ที่เกิดขึ้นกับคนนอกชุมชน ทั้งโดยการใช้กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ บทลงโทษ และการลงโทษ ผู้กระทำผิด สิ่งจำเป็นสำหรับการนำการจัดการประมงเชิงชุมชนมาใช้ให้เกิดผลที่สำคัญคือความเข้มแข็งของ องค์กรชุมชนท้องถิ่นที่จะทำหน้าที่จัดการการประมงชุมชน ปัจจุบันด้วยความร่วมมือของหลายฝ่าย ทั้งหน่วยราชการ องค์กรเอกชน และนักวิชาการที่ทำงานในท้องถิ่นสร้างความสามารถให้แก่ ชาวประมงท้องถิ่นในการองค์กรและเข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง มีการดำเนินงาน กลุ่มออมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนชายฝั่ง อีกทั้งชาวประมงตระหนักในความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรที่จำเป็นต้องร่วมกันฟื้นฟูไว้ให้มีใช้ได้อย่างยั่งยืนการให้สิทธิแก่ชุมชนชายฝั่ง จะช่วยให้ความมั่นใจในการลงทุนลงแรงร่วมมือฟื้นฟูทรัพยากร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3