การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

16 ในประเด็นเรื่องความยุติธรรม เนื่องจากทรัพยากรประมงเป็นทรัพย์สินร่วม การให้สิทธิ ทำประมงแก่ชุมชนชายฝั่งใน เชิงกฎหมายอาจมีปัญหา อย่างไรก็ตามสิทธิที่ให้ มิได้ให้ขาด แต่ควรกำหนดให้เป็นช่วงระยะเวลา เช่น ปีต่อปี สามปี ห้าปี หรือสิบปี และจัดระบบให้ชุมชน เป็นผู้ขอใช้สิทธิ โดยมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ตัวแทนชาวประมง ตัวแทนผู้ใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรประมง ตัวแทนประชาชน ตัวแทนหน่วยงานของรัฐ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เกี่ยวข้องที่สนใจในการประมง เป็นต้น พิจารณาเป็นขั้นตอน ดังนั้น การให้สิทธิชั่วคราวนี้ ส่วนรวมสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ ประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้คือ การมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มากขึ้น ให้มีไว้ใช้ได้อย่างยั่งยืน โดยประหยัดงบประมาณในการบริหาร การจัดการ ติดตามเฝ้าระวัง ควบคุม และบังคับใช้มาตรการการจัดการโดยส่วนกลาง อย่างไรก็ตามในระยะแรก จำเป็นต้องลงทุน เสริมสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะมีบทบาทในการจัดการเชิงชุมชนให้สามารถดำเนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนประมงพื้นบ้านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดเป็นเครือญาติและประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเหมือนกัน ตั้งถิ่นฐานโดยการสร้างบ้านเรือน อยู่ใกล้กันเป็นแนวยาวบริเวณริมชายฝั่งทะเล เพื่อสะดวกต่อการขึ้นลงเรือและออกทะเลไปทำประมง การตั้งถิ่นฐานบนฐานจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็น “สิทธิชุมชนท้องถิ่น” ที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา เป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งองค์ประกอบด้านการเรียนรู้ การใช้ภูมิปัญญา และการปรับตัวกับธรรมชาติ เพื่อแสวงหาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเล เช่น การจับสัตว์น้ำที่ไม่เป็นการทำลายวงจรการขยายพันธุ์ โดยใช้เครื่องมือที่ออกแบบ เพื่อจับสัตว์น้ำขนาดโตเต็มวัย เช่น อวนตาห่าง ลอบตาห่าง หรือการใช้เครื่องมือเพื่อจับสัตว์น้ำ เฉพาะอย่าง เช่น อวนดักกุ้ง อวนล้อมปลาทู อวนปลากระบอก หรือการใช้ภูมิปัญญาจับสัตว์น้ำ ตามเวลาและฤดูกาลที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติของสัตว์น้ำที่ขึ้นหรือเข้ามาในน่านน้ำชายฝั่ง เช่น ช่วงฤดูกาลปกติจะจับสัตว์น้ำประเภทปลาเป็นหลัก เมื่อเข้าสู่ช่วงมรสุมที่สภาพคลื่นลมแรง จะไม่สามารถจับปลาได้แต่เป็นช่วงเวลาที่กุ้งขึ้นจากน้ำหรือหากินบนผิวน้ำ หรือช่วงเวลาของวันก็เป็น ปัจจัยสำคัญ เช่น ปลาทูจะขึ้นมากตอนใกล้มืดหรือใกล้รุ่ง อีกทั้งการจับสัตว์น้ำยังขึ้นอยู่กับ สภาพปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อาจสังเกตจากลักษณะการไหลของน้ำ ระยะห่างจากชายฝั่ง บริเวณที่พบ สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ จึงส่งผลให้สัตว์น้ำแต่ละชนิดมีเวลาพักฟื้นตัว ซึ่งแต่ละชุมชนท้องถิ่น ยังมีความเหนียวแน่นในเอกลักษณ์การทำประมงที่คำนึงถึงความพอเพียงในการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ มุ่งรักษาท้องทะเล ทำประมงเพื่อเลี้ยงชีพและแบ่งปันกันโดยไม่มุ่งหวัง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีการใช้แรงงานในครัวเรือนหรือในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเรือที่ใช้ทำการประมง จะทำจากไม้เนื้อแข็งมีน้ำหนักเบา ส่วนเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำก็ออกแบบอย่างง่าย โดยใช้ ภูมิปัญญาและทำจากวัสดุในท้องถิ่น สำหรับรูปแบบการทำประมงพื้นบ้านนั้น มีความสัมพันธ์กับระบบคุณค่าที่คนในชุมชน มีต่อฐานทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล มีการพัฒนาเป็นกฎเกณฑ์และจารีตประเพณีที่กำหนด ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมสร้างระบบควบคุมการใช้สิทธิของชุมชน ท้องถิ่นในการทำประมงพื้นบ้าน เรียกว่า ระบบอำนาจชุมชน การจัดการทรัพยากรที่เป็นฐานของ วิถีชีวิตความอยู่รอดของชุมชน ผ่านการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และปรับให้เข้ากับสภาพธรรมชาติของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3