การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

17 ทรัพยากรทางทะเล ให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้ทรัพยากร ดังกล่าวมีความยั่งยืน ชุมชนมีระบบสิทธิในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม มีระเบียบกฎเกณฑ์ ควบคุมดูแลให้คนในชุมชนปฏิบัติตามหลักการที่กำหนด เช่น สิทธิในการใช้ทะเลโดยเท่าเทียมกัน ทุกคนในชุมชนสามารถทำประมงในพื้นที่ทะเลบริเวณใดก็ได้เป็นสิทธิของผู้มาก่อนภายใต้หลักเกณฑ์ เรื่องการใช้ประโยชน์ สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิการทำประมงแบบชั่วคราว เมื่อเลิกทำแล้วก็ต้องคืน ให้ชุมชน และคนอื่นในชุมชนย่อมมีสิทธิที่จะทำประ โยชน์ต่ออีกก็ได้โดยใช้หลักการเดียวกัน การทำประมงจะไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของทะเล เพราะทรัพยากรทางทะเลถือเป็นทรัพย์สิน ส่วนรวมที่ทุกคนจะต้องดูแลรักษาไว้สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกันตามกติกาของส่วนรวม ชุมชนท้องถิ่น จะใช้เครื่องมือทำประมงที่คล้ายคลึงกัน เพื่อให้ทุกคนมีโ อกาสเท่าเทียมกันในการเข้าถึง ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ขนาดโตเต็มวัยเพื่อให้สัตว์น้ำขนาดเล็กมีโอกาส เติบโตตามธรรมชาติ เป็นการรักษาวงจรการขยายพันธุ์และระบนนิเวศของสัตวน้ำ แสดงให้เห็นถึง การปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์ และบำรุงรักษาสภาพธรรมชาติของทะเลให้อยู่กับวิถีชีวิตของท้องถิ่น หรือการปลูกฝังแนวคิดการรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืน ด้วยการไม่ทำลายสัตว์ทะเลหายาก เช่น โลมา พะยูน และไม่ทำลายวงจรชีวิตของสัตว์ทะเลที่เปรียบเสมือนเป็นห่วงโซ่อาหาร ไม่ทำลาย ปลาขนาดเล็ก ซึ่งเป็นอาหารของปลาขนาดใหญ่ ไม่ทำลายปะการังซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ไม่ทำลายป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล การทำประมงพื้นบ้าน เป็นการทำงานแบบพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน ทั้งเรื่องวิธีการทำประมงที่จะต้อง ออกเรือไปเป็นกลุ่มคอยช่วยเหลือกันเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน วิธีการจับสัตว์บางชนิด เช่น อวนปลาจะต้องใช้ กำลังแรงงานคนช่วยเหลือกัน และเมื่อได้ปลามาแล้วก็จะนำมาแบ่งปันกัน หรือเจ้าของเรือจ่าย เป็นค่าแรงตอบแทนให้กับแรงงาน นับเป็นวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน ทางทะเลที่อยู่ร่วมกัน ด้วยการแบ่งปันเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน สิทธิชุมชนท้องถิ่นในการทำประมงไม่ได้สัมพันธ์กับระบบคุณค่าที่คนมีต่อทรัพยากร ในฐานที่เป็นแหล่งในการทำมาหากินร่วมกันเท่านั้น แต่มองทรัพยากรทางทะเลว่า เป็นสมบัติ ของพระเจ้า การให้คุณค่าดังกล่าวได้แสดงออกด้วยการที่ชุมชนมีกฎเกณฑ์และจารีตประเพณี ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับทรัพยากรธรรมชาติ โดยการไม่ทำลายทรัพยากรดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการละเมิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อว่าไม่เพียงจะถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการละเมิดกฎหมายของสังคมอีกด้วย ซึ่งจะมีผลตามมาถึงการถูกแทรกแซง และสภาพบังคับด้วยรูปแบบ วิธีการต่าง ๆ ของคนในชุมชน (อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, 2558) สำหรับปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมง (อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, 2559) เห็นว่าการที่รัฐธรรมนูญมีหลักการที่รับรองให้ชุมชนและประชาชนมีสิทธิในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงทรัพยากรประมง แต่ในการดำเนินมาตรการดังกล่าว พบว่ายังมีข้อจำกัดทางกฎหมายหลายประการ อาทิ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นยังไม่สมบูรณ์ เกิดช่องว่างของการใช้อำนาจในระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจเดิมกับองค์กรท้องถิ่นผู้รับโอนอำนาจการใช้ สิทธิมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดรายละเอียด และ/หรือวิธีการใช้ สิทธิในการมีส่วนร่วมดังกล่าว ประกอบกับการทำประมงที่เกินขนาด และการแย่งชิงทรัพยากรประมง ระหว่างประมงชายฝั่งกับประมงพาณิชย์ จึงควรบัญญัติกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมของชุมชนและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3