การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

18 ประชาชนในการจัดการทรัพยากรประมงในท้องถิ่น รวมทั้งมาตรการจัดการทรัพยากรประมงให้คงไว้ สำหรับการใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน 2.1.1 หลักการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ การอาศัยพึ่งพิงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ล้วนทำให้ทรัพยากรธร รมชาติ และสิ่งแวดล้อมอาจเสื่อมโทรมลงได้ (ประยูร วงศ์จันทรา, 2561) จากความต้องการของมนุษย์ ขั้นมูลฐาน ได้แก่ ปัจจัยสี่ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังค ม จึงทำให้มีการสำรวจ ขุดค้น แสวงหา และนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์มากขึ้น ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสบายแก่มนุษย์มากมาย ทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกนำมาใช้ อย่างฟุ่มเฟือยสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้กลไกธรรมชาติเองไม่สามารถปรับตัว ได้ทัน สมดุลธรรมชาติจึงเสียไป และก่อให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่จะนำมาใช้ เพื่อการดำรงชีวิตในอนาคต การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมจะเป็นกลไกสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความตระหนัก และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง (ปิยะดา วชิระวงศกร , 2562) ได้ให้ความหมายของคำว่า “ทรัพยากรธรรมชาติ” ไว้ว่า เป็นสิ่งใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้หากสิ่งที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ แต่ไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์แล้วก็ไม่นับว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นกัน อีกทั้ง (สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์, 2550) ได้ให้ความหมายของคำว่า “ทรัพยากรธรรมชาติ” ไว้ว่าคือ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ธรรมชาติได้สร้างไว้ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ อากาศ สถานที่นันทนาการ รวมถึงมนุษยชาติ นักอนุรักษ์วิทยาได้จำแนกประเภทของทรัพยากรธรรมชาติออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการนำมาใช้ประโยชน์ของมนุษย์ โดยทรัพยากรธรรมชาติมีทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต หรืออาจอยู่ในสถานะต่าง ๆ เช่น ของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้ว ไม่หมดสิ้นไป ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดทดแทนได้ และทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้น (ปิยะดา วชิระวงศกร, 2562) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมดสิ้น (Non-exhaustible natural resources) ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีมนุษย์ มนุษย์สามารถใช้ทรัพยากรประเภทนี้ ได้อย่างไม่จำกัด เนื่องจากธรรมชาติสร้างให้มีใช้ได้ตลอดเวลา ทรัพยากรเหล่านี้มีความจำเป็น ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด อย่างไรก็ตามแม้ทรัพยากรจะมีประมาณมาก แต่หากนำมาใช้ผิดวิธีหรือขาดการบำรุงรักษาแล้วจะทำให้คุณภาพของทรัพยากรมีโอกาสเสื่อมลง หรือเปลี่ยนไปจนไม่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์ได้ เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ำ สำหรับ แนวคิดในการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้คือ “สะอาดเสมอ” โดยจะต้องควบคุม และป้องกันไม่ให้ทรัพยากรประเภทนี้มีสิ่งปนเปื้อน หรือปัญหามลพิษ หากมีมลสารที่เป็นพิษปนเปื้อน จะต้องจำกัดให้หมดสิ้น และควรให้การศึกษาแก่ประชาชนทราบถึงวิธีการควบคุมป้องกันผลกระทบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3