การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 จากการใช้ประโยชน์ จะทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธี อาจพิจารณาใช้กลไกกฎหมายในการ ควบคุมการกระทำหรือกิจกรรมที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายหรือเกิดการปนเปื้อนมลพิษ 2) ทรัพยากรธรรมชาติที่ ใช้แล้วสามารถ เกิดทดแทนได้ (Renewable natural resources) เป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลาหรือเมื่อใช้แล้วสามารถสร้างขึ้นมา ทดแทนได้ตามธรรมชาติ หากมีการวางแผนการจัดการหรือรักษาให้อยู่ในระดับที่สมดุลกัน ตามธรรมชาติ ซึ่งการเกิดทดแทนอาจเร็วหรือช้าก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของทรัพยากรธรรมชาตินั้น ๆ เช่น น้ำที่อยู่ในที่ใดที่หนึ่ง คุณภาพน้ำ คุณภาพดิน พืชพรรณ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทุ่งหญ้า แรงงานของมนุษย์ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประเภทนี้ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ควรใช้มากเกินความจำเป็น หรือเกินกว่าที่ศักยภาพการฟื้นฟูทางธรรมชาติจะสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ มิฉะนั้นจะเกิด ความเสื่อมโทรม ลดน้อยและสูญสิ้นไป ย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรชนิดอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อม เดียวกัน รวมถึงส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับแนวคิด ในการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้คือ “ใช้เฉพาะส่วนที่เพิ่มพูน” (Increment) โดยจะต้องจัดให้ระบบมีองค์ประกอบภายในที่มีชนิด ประมาณ สัดส่วน และการกระจายอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานธรรมชาติ หรือการสร้างสมดุลในระบบนิเวศ โดยจะต้องไม่ทำลายหรือใช้ประโยชน์ อย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้เกิดดุลยภาพในระบบนิเวศต่อไปในอนาคต และควรใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในส่วนที่มีปริมาณเกินมาจากปริมาณที่สมดุลและสามารถทดแทนธรรมชาติ ทำให้สามา รถใช้ ได้อย่างยั่งยืน ควรมีการควบคุมและป้องกันปริมาณ คุณภาพ และศักยภาพในการผลิตของ ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในระบบ เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ดี หากมีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมจนเป็น อันตรายต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ในระบบ อีกทั้งยังต้องยึดหลักการทางอนุรักษ์วิทยาเป็นสำคัญ โดยจะต้องตามความเหมาะสม ประหยัด ปรับปรุง ซ่อมแซม และฟื้นคืนสภาพส่วนที่เสื่อมโทรมก่อน แล้วจึงนำมาใช้ 3 ) ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ ที่ ใช้ แ ล้ ว ห ม ด ไป (Exhausting natural resources) เป็นทรัพยากรประเภทฟุ่มเฟือย มีประ โยชน์ต่อมนุษย์ในแง่ระบบเศรษฐกิจ การอำนวย ความสะดวกสบาย ช่วยผ่อนแรง ช่วยให้มนุษย์มีโอกาสได้งานและมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น หากขาดทรัพยากรประเภทนี้มนุษย์ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทรัพยากรประเภทนี้จะเป็นทรัพยากร ที่นำมาใช้แล้วสิ้นเปลืองและหมดไปในที่สุดโดยไม่สามารถทดแทนได้หรืออัตราการเกิดทดแทน ก็ต้องใช้ระยะเวลาหลายล้านปี บางชนิดอาจจะมีการดัดแปลงหรือบูรณะหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้บ้าง เช่น น้ำมันปิโตรเลียม แร่ธาตุ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แหล่งธรรมชาติที่หาดูยาก แหล่งท่องเที่ยว ธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปัจจุบันทรัพยากรประเภทนี้มีปริมาณลดลงมากเนื่องจากมนุษย์ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากร ประเภทนี้จึงต้องใช้อย่างประหยัด ระมัดระวัง คุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับแนวคิดในการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ คือ “ประหยัดเท่านั้น” โดยจะต้อง ป้องกันให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติไป หรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่จำเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3