การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
20 อย่างประหยัด หลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลนมาให้วัสดุอื่น ๆ แทน อาจนำ ส่วนที่เสียหรือเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า โดยใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ใหม่หรือ ผ่านกระบวนการผลิตใหม่ ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ได้ยาวนานขึ้น อีกทั้งยังต้อง ควบคุมและป้องกันของเสียจากการใช้ประโยชน์ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย หรือเลือกใช้ เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม หากพิจารณาแล้วทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ทะเล เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย หมึก จัดอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถเกิดขึ้นใหม่ทดแทนได้ตลอดเวลา หรือเมื่อใช้แล้วสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ตามธรรมชาติ ถ้าหากมีการวางแผนการจัดการ อย่างชาญฉลาด หรือการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ให้อยู่ในระดับที่สมดุลตามธรรมชาติ จะไม่มีวันสูญสิ้น สามารถคงอยู่ และมนุษย์ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป การนำทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเลมาใช้ประโยชน์ จะมากหรือน้อยก็ตามจะทำให้สมดุลธรรมชาติของทรัพยากร เสียไปไม่มากก็น้อย ความถี่และปริมาณในแต่ละครั้งก็มีผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรดังกล่าว นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงบุกรุก กั้นขวาง และก่อมลพิษทางแหล่งน้ำ ก็มีผลกระทบทางตรงและ ผลกระทบทางอ้อม ซึ่งอัตราการเกิดใหม่ทดแทนอาจเร็วหรือช้าก็ได้ขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตของสัตว์ แต่ละชนิด ดังนั้นแล้วการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลจึงต้องเป็นไป อย่างเหมาะสม รักษาสมดุลตามธรรมชาติ ไม่ควรใช้เกินกว่าที่ศักยภาพการฟื้นฟูทางธรรมชาติ จะสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ มิฉะนั้นอาจเกิดความเสื่อมโทรม และสูญสิ้นไป ย่อมส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรชนิดอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน รวมถึงส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมในอนาคตอีกด้วย ก า ร จัด ก า ร ท รั พ ย าก ร ธ ร ร ม ช าติ แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้อ ม เป็ น ก า ร ด ำ เนิ น ก า ร ต่ อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถเอื้ออำนวยให้มนุษย์มีใช้ตลอดไป อาจแบ่งได้เป็นการจัดการโดยภาครั ฐ และการจัดการ โดยภาคเอกชนและประชาชน (ประยูร วงศ์จันทรา, 2561) ดังนี้ 1. การจัดการโดยภาครัฐ การออกนโยบายของรัฐด้านการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงขีดจำกัดและศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศธรรมชาติ เพื่อรักษาความมั่นคง ของฐานทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความสมดุลและเป็นธรรม ในอดีตประเทศไทยเคยมีผลผลิตทั้งจากประมงน้ำจืดและทะเลเป็นปริมาณมาก จากการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำประมงและเป็นสินค้าส่งออกสร้างรายได้แก่ประเทศ แต่เนื่องจาก ผลผลิตทางการประมงในประเทศไทยถูกนำมาใช้ประโยชน์จนเกินอัตรากำลังการผลิต จึงทำให้การ ประมงไทยประสบปัญหาวิกฤต ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรม ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ มีการทำประมง โดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใช้ขนาดตาอวนผิดกฎหมาย และการลักลอบใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ทำให้ปริมาณทรัพยากรลดลงอย่างชัดเจน รวมทั้งมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่าทะเล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3