การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

21 พะยูน วาฬ โลมา การทำประมงผิดกฎหมาย การละเมิดหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น การเข้าไปทำการประมงในพื้นที่ห้ามทำและห้ามการใช้ชนิดเครื่องมือทำการประมง ทำให้ สหภาพยุโรปออกมาตรการให้ประเทศไทยปรับเปลี่ยนนโยบายในการจัดการกับปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมาย และปัญหาการขาดการควบคุมการทำประมง ในปี พ.ศ. 2558 มีการประกาศเตือนให้ประเทศไทยกำหนดมาตรการป้องกันและ ขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งหากประเทศไทยไม่มีการปรับปรุงให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ของนานาชาติ อาจถูกยกเลิกและสูญเสียรายได้จากการส่งสินค้าประมงไปยังประเทศในกลุ่ม สหภาพยุโรปได้ ซึ่งประเทศไทยได้มีการจัดการทรัพยากรประมง ตามแผนงาน 6 แผนงานหลักคือ (1) การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมง และกฎหมายลำดับรอง (2) การจัดทำแผนระดับชาติ ในการป้องกันยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (3) การเร่งจดทะเบียนเรือประมง และออกใบอนุญาตการทำประมง (4) การพัฒนาระบบควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง โดยเฉพาะ การควบคุมการเข้า - ออกทำของเรือประมง (5) การจัดทำระบบติดตามตำแหนงเรือ และ (6) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบยอนกลับ นอกจากนี้ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ 24/2558 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมง ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจับสัตว์น้ ำ ในน่านน้ำไทยที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยงดการจดทะเบียนเรือไทย สำหรับการประมง รวมถึงห้ามมิให้มีการใช้หรือครอบครองเครื่องมือท ำการประมงที่ไม่ถูกต้องตามที่กำหนด และให้พนักงาน เจ้าหน้าที่สามารถรื้อถอน หรือท ำลายเครื่องมือทำการประมงนั้นได้ด้วย เครื่องมือสำคัญที่มีผลทำให้การจัดการหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสบผลสำเร็จคือกฎหมาย ในการกำหนดน โยบายการจัดการ ให้การดำเนินการเป็นไปตาม หลักความสมดุลของธรรมชาติ มีความสอดคล้องกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ วิธีการประสาน ขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นตามระเบียบและ ข้อกำหนดอย่างชัดเจน มีการส่งเสริมการประเมินทรัพยากรประมง (Fisheries stock assessment) เพื่อใช้เป็นการวางแผนการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับศักยภาพ การทำประมงที่คำนึงถึง ความสมดุลของทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศ สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งจำกัด และยกเลิกเครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง ป้องกันไม่ให้เรือประมงเถื่อนทั้งจากภายในประ เทศ และภายนอกประเทศเข้ามาทำการประมงที่ผิดกฎหมาย หรือการสนับสนุนบทบาทการมีส่วนร่วม ของชุมชนชายฝั่ง รวมถึงเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนชายฝั่งให้ร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและพื้นที่อ่าว โดยเฉพาะการเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมาย ในเขตการทำประมงพื้นบ้าน (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2560) การบังคับใช้มาตรการแก้ไขปัญหา การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และ ไร้การควบคุม ส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สาเหตุที่ทำให้ ประเทศไทยได้รับการเตือนจากสหภาพยุโรป เนื่องจากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามระเบียบ สหภาพยุโรปที่ว่าด้วยการจัดตั้งระบบของประชาคมยุโรปเพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง ผิดกฎหมายฯ รวมทั้งสถานการณ์การค้ามนุษย์ในกิจการประมง มาตรการในการแก้ไขปัญหา รัฐบาลไทยได้ปรับปรุงกฎหมายประมง กฎหมายลำดับรอง การออกคำสั่งจากหน่วยงานหรือบุคคล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3