การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
22 ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาตรการทางกฎหมายบางประเด็นสร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับอาชญาบัตรการทำประมง ปัญหาเกี่ยวกับการนิยามเขตทะเลนอกชายฝั่ง เรือประมงพื้นบ้านเรือไร้สัญชาติเป็นต้น การแก้ไขปัญหาผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับวิธีการ ออกมาตรการแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และการบรรเทาผลกระทบจากการ ประกาศใช้มาตรการในรูปแบบต่าง ๆ (พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา & ชัยณรงค์ เครือนวน, 2562) 2. การจัดการโดยภาคเอกชนและประชาชน ปัจจุบันการประชาสัมพันธ์ และการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้เกิด จิตสำนึกแก่ประชาชนโดยทั่วไป มีการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสร้างสื่อและการเผยแพร่ ผ่านสื่อมวลชน อาจแบ่ง ได้เป็น 2 ประ เด็น คือ การสร้างจิตสำนึก เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และการป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ การรณรงค์จะเป็นการผสมผสานวิธีการ ในหลายรูปแบบ ทั้งการจัดฝึกอบรม สมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ นิทรรศการ และ กิจกรรมพิเศษ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การประกวดบทความ ภาพวาดสำหรับเยาวชน เรียงความ การแข่งขันตอบปัญหาผ่านสื่อมวลชน การสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนโดยทั่วไป เป็ น คว ามพ ย าย ามที่จะป รับพ ฤติก รรม ขอ งมนุษ ย์ ในทิศท างที่ เสริม สร้างก าร อนุ รั กษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ ซึ่งมักขัดกับพฤติกรรมที่เคยชินของประชาชน ในสังคม รวมทั้งจำเป็นต้องมีการเสียสละเวลาและผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม จึงเป็นการ ดำเนินงานที่ต้องการความละเอียดอ่อน และต้องใช้ระยะเวลา ต้องมีการวางแผนที่เหมาะสมเพื่อให้ เข้าถึงประชาชน จึงทำให้เกิดผลบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน มุ่งให้ความสำคัญ กับภาคประชาชน และชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการ พร้อมทั้งมีการพัฒนานโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการ รวมทั้งกลไกของกฎหมายเพื่อรองรับสิทธิในการจัดการ ให้สอดคล้อง กับแนวโน้มและพัฒนาการของการจัดการทรัพยากรในปัจจุบัน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยชุมชนท้องถิ่น อยู่ภายใต้บทบาทและภาระหน้าที่ขององค์กรชุมชน โดยมีจารีตประเพณีและ ข้อตกลงของชุมชนเป็นกลไกสำคัญที่ชุมชนใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ หากมองว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนย่อมมีความสามารถที่จะดูแลควบคุมวิถีการดำรงชีวิตของตนเอง ซึ่งเป็นสิทธิ ในชีวิตและปัจจัยการดำรงชีวิตในกรณีดังกล่าว หากเห็นว่าทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนใดย่อมมีอยู่ เพื่อการดำรงชีพของประชาชนหรือชุมชนในท้องถิ่นนั้น ประชาชนหรือชุมชนในท้องถิ่น ย่อมต้องเป็น ผู้มีสิทธิเหนือทรัพยากรในการที่จะอนุรักษ์และจัดการ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการดูแลรักษา เพื่อใช้ประโยชน์ให้ยั่งยืนต่อไป ดังนั้น ชุมชนท้องถิ่นจึงมีความชอบธรรมที่จะมีสิทธิ เหนือทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตน มากกว่าคนภายนอกชุมชนที่ไม่ได้เป็นผู้อาศัยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่รัฐต้องยอม ให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการดังกล่าว เพื่อจะก่อให้เ กิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ในแง่ของการใช้ทรัพยากร การบำรุงรักษาและอนุรักษ์ ทั้งยังเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3