การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

23 อันเนื่องมาจากการแย่งชิงทรัพยากร ตลอดจนปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นอีกด้วย (อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, 2558) ชุมชนมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากร เนื่องจากชุมชนมีความเกี่ยวโยงกับ ทรัพยากรอย่างแยกไม่ออก โดยชุมชนพัฒนาการจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับ การใช้ทรัพยากรในการประกอบอาชีพ หรือใช้ควบคู่ไปกับชีวิตประจำวันเป็นลักษณะของการจัดการ ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งรูปแบบการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชนประมงพื้นบ้าน ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี (อัสรีย์ แดเบาะ , 2564) อธิบายว่า วิถีชีวิต ของชาวประมงพื้นบ้านเกิดขึ้นจากความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากร มีการเรียนรู้ ถ่ายทอด จากรุ่นสู่รุ่น นำหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่ว่า “เฮาะออแรฆามา ทรัพยากรเป็นของทุกคน ที่ต้องร่วมกันดูแลและใช้อย่างประหยัด” “อยู่อย่างนก ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด” นำไปสู่ข้อตกลงของชุมชนในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน การรวมกลุ่ม ของคนในชุมชนเพื่อปกป้องและเฝ้าระวัง กลุ่มคนรักทะเลจังหวัดปัตตานีรวมพลังเรียกร้องการจัดการ ทรัพ ยากร ในอ่ าวปัตต านี ต่อหน่ วย งาน ภ าครัฐ ก ารหนุน เสริม จากหน่ วย ง านภ ายนอ ก องค์กรพัฒนาเอกชน ตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน 6 จังหวัดภาคใต้ (ปัตตานี สงขลา สตูล ตรัง นครศรีธรรมราช กระบี่) ร่วมกันจัดตั้งสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ เสนอแนวทางการจัดการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต่อหน่วยงานภาครัฐ มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับหน่วยงาน องค์กร กลุ่มอนุรักษ์ เครือข่ายภายนอก เช่น การทำซั้งกอ การกำหนด แนวเขตอนุรักษ์ การปลูกป่าชายเลน ธนาคารปูม้า ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เฝ้าระวัง ป้องกัน จับกุม และบูรณาการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสู่วิถีชีวิต ยึดมั่น ในหลักการคำสอนของศาสนาอิสลาม ร่วมปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อตกลงชุมชน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ในการใช้ทรัพยากร (เพ็ญนภา สวนทอง , 2560) อธิบายว่า ควรกำหนด ระบบกรรมสิทธิ์เอกชนหรือส่วนบุคคลและระบบการออกกฎหมายบังคับโดยรัฐ เพราะเห็นว่ายังไม่มี ระบบอื่นที่ดีกว่า ทำให้นโยบายรัฐที่ผ่านมาจึงยอมรับระบบกรรมสิทธิ์เพียงสองแบบ คือ กรรมสิทธิ์ เอกชน (Private property) และกรรมสิทธิ์ของรัฐ (State property) ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบไปด้วย ภูเขา ดิน น้ำ ทะเล ป่า เป็นทรัพยากรส่วนรวมที่ทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นในระบบกรรมสิทธิ์เอกชน การได้สิทธิ์ของคน ๆ หนึ่งเท่ากับกีดกันสิทธิ์ ของบุคคลอื่นในสิทธิที่พึงมี จึงนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคม ซึ่งในงานแนวคิดและทฤษฎีในการศึกษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้มุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองนั้น ยังได้ นำเสนอแนวคิดนิเวศวิทยาการเมือง (Political ecology) เป็นแนววิเคราะห์เชิงวิพากษ์ชนชั้น ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้กระทำการต่าง ๆ ในสังคมรวมเข้ากับหลักการเชิงนิเวศวิทยา เสนอแนวคิดความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม (Environmental conflict) ความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม เป็นผลมาจากปิดกั้นทรัพยากร โดยการจัดสรรของรัฐ หรือชนชั้นนำทางสังคม เป็นความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่ม ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัญหาทางการเมืองเมื่อกลุ่มท้องถิ่นแทรกแซง ควบคุม ทรัพยากรของกลุ่มหรือทรัพยากรส่วนรวมโดยอิทธิพลอำนาจการจัดการในการพัฒนาโดยตัวแทนรัฐ หรือบรรษัทเอกชน ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับระบบนิเวศที่มีอยู่จึงเปลี่ยนมาสู่การอนุรักษ์หรือ น โยบ ายก ารพัฒน าทรัพย ากร โดยรัฐ (Conservation or resource development policy)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3