การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

24 ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจึงเกี่ยวข้องกับสิทธิการใช้ทรัพยากร สิทธิการเข้าถึง (Access rights) สิทธิในการเก็บหา (Withdrawal rights) สิทธิการจัดการ (Management rights) สิทธิในการกีดกัน (Exclusion rights) และสิทธิในการถ่ายโอน (Alienation rights) จากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การอนุรักษ์และการพัฒนา และเสนอประเด็นของงานวิจัยสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องศึกษาเพื่อเข้าใจ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่ความยุติธรรมทางสังคมและความยั่งยืนทางนิเวศได้ การจัดการทรัพยากรร่วม (Common-pool resources) (CPRs) เป็นประเด็น ท้าทายทางนโยบายและทางการจัดการ สำหรับรัฐบาลระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และภาคประชาชน ของทุกประเทศทั่วโลกอันเนื่องมาจากคุณลักษณะเฉพาะของทรัพยากรร่วมเอง หากรัฐบาล และประชาชนไม่มีกลไกในการจัดการทรัพยากรร่วมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทรัพยากรร่วมนั้นก็อาจเสื่อมสูญไปและส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่นั้นได้ (อนุชา โคตรศรีวงษ์ & กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์, 2562) ส่วน (เกศินี แนวโอโล & กฤชวรรธน์ โล่ห์ วัช ริน ท ร์ , 2562) เห็ น ว่ า ท รัพ ย าก ร ร่ วม (Common-pool resources) (CPRs) เป็ น ร ะบ บ ทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการกีดกันให้ผู้คนเข้าไป ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรร่วมเป็นสินค้าทางเศรษฐศาสตร์ มีลักษณะเหมือนสินค้าเอกชน และ สินค้าสาธารณะ มีลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ ไม่สามารถกีดกันได้ (Non-excludable) และ จำเป็นต้องมีการแข่งขัน เพื่อให้ได้มาซึ่งการบริโภค (Rivalrous) ลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหา ในการจัดการ อันเนื่องมาจากมีผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมนั้นจนสาบสูญไป สำหรับแนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม (Common-pool resources) (CPRs) เป็นแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกและในประเทศไทย เห็นได้ จากการที่คณะกรรมการรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ได้เลือก Elinor Ostrom นักวิชาการ ชั้นแนวหน้าในประเด็นนี้ขึ้นรับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2009 Elinor Ostrom เป็นนักวิชาการในสาขาระบบการจัดการทางเศรษฐกิจ (Economic Governance) ประจำอยู่ที่ Indiana University และ Arizona State University ประเทศสหรัฐอเมริกา (ชล บุนนาค, 2555) การจัดการทรัพยากรร่วม (Common-pool resources - CPRs) กับข้อเสนอของ Elinor Ostrom : การใช้และการดูแลรักษาภายใต้กฎเกณฑ์ร่วมกัน (ธรรมนิตย์ สุมันตกุล (ออนไลน์), 2562) อธิบายว่า ทรัพยากรร่วม (Common-pool resources - CPRs) เป็นทรัพยากรธรรมชาติหรือ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นเองก็ได้ ซึ่งมีขนาดพอที่มีราคายึดถือเอาได้ และผู้ใช้ประโยชน์ (Appropriators) สามารถหวงกันผู้อื่นเข้าใช้หรือแสวงหาประโยชน์ได้ ประเด็นสำคัญคือ มีการจัดการ ดูแลรักษาแหล่งทรัพยากรร่วมกัน และแบ่งปันการหา (Appropriate) ประโยชน์กัน สาระอยู่ที่คำว่า “Pool” ในความหมายของคำ คือ “การนำมากองรวมกัน” เพราะฉะนั้นทรัพยากรร่วม จึงหมายถึง ทรัพยากรหรือทรัพย์สินที่นำมากองรวมกัน การจัดการทรัพยากรร่วมนั้น ต้อ งแยกพิจารณาทำความ เข้าใจระหว่าง แหล่งทรัพยากร (Resource system) กับประโยชน์ที่ได้จากหน่วยการใช้หรือนำขึ้นมาใช้ (Resource unit) จากแหล่งทรัพยากรนั้น เช่น แหล่งประมง น้ำบาดาล ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ระบบคลองส่งน้ำ ชลประทาน สะพาน ที่จอดรถสาธารณะ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แหล่งไอน้ำร้อน ทะเลสาบ มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ส่วนประโยชน์จากการใช้ (Resource unit) คือ การที่แต่ละคนใช้สอยหรือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3