การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
25 เข้าหาประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรโดยคำนวณนับเป็นหน่วยได้ เช่น ปลาที่จับได้จำนวนเป็นตัน น้ำใต้ดินสูบจากแหล่งน้ำบาดาลหรือแหล่งน้ำชลประทานนับเป็นจำนวนลูกบาศก์ จำนวนหญ้า ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้าเท่าใด จำนวนรถที่ข้ามสะพานในแต่ละปี รถเข้าใช้ที่จอดรถสาธารณะ เต็มพื้นที่ จำนวนผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้าแชร์การใช้ ซึ่งเมื่อคำนวณการฟื้นตัวของแหล่งทรัพยากร ถ้าอัตราการนำมาใช้ประโยชน์ (Resource unit) (หน่วย) ไม่เกินแหล่งทรัพยากรหรือมีเวลาพอ ปรับตัว ทรัพยากรนั้นก็ยังคงยั่งยืน ทรัพยากรร่วม ยังแยกพิจารณาตัวบุคคลผู้เข้าใช้หรือแสวงหา ประโยชน์ (Appropriators) และผู้ทำ จัดหา บำรุง หรือซ่อมแซมให้ทรัพยากรอยู่ในสภาพใช้ประโยชน์ (Providers) เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาและความยั่งยืนต่อไป การเข้าใช้ประโยชน์ทรัพยากร ร่วมกันอาจเป็นการกระทำของบุคคลหรือนิติบุคคลหลายคนเข้าใช้ (Appropriate) ในเวลาเดียวกัน หรือสลับต่อเนื่องกันไป และทรัพยากรนั้นอาจจัดให้มีหรือทำให้มี (Provide) ร่วมกันโดยบุคคล คนเดียวหรือหลายคนได้แต่ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้หรือแสวงหาก็ไม่ใช่การใช้ร่วมกัน (Jointly use) หรือการหาร่วมกัน (Jointly appropriation) ปลาที่จับได้ในเรือประมงลำหนึ่งเป็นของ เจ้าของเรือหรือผู้ที่จับได้ ซึ่งเขาย่อมขายต่อไปได้ที่ท่าเรือ น้ำชลประทานในแปลงนาก็ไม่ได้เป็นของ คนอื่น ประโยชน์ที่ได้รับ จึงมิได้เป็นเจ้าของร่วมกัน แต่แหล่งทรัพยากรต่างหากที่เป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อหาประโยชน์ร่วมกันการปรับปรุงดูแลแหล่งทรัพยากรจึงเป็นของผู้ที่แสวงหาประโยชน์ ร่วมกันทุกคน และเป็นการยากที่จะกันผู้แสวงหาผลประโยชน์คนหนึ่งออกไปจากการดูแล ผู้แสวงหา ประโยชน์ทุกคนล้วนแต่ได้ประโยชน์จากการดูแลรักษาแหล่งทรัพยากร ไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีส่วน กระทำเองหรือไม่ก็ตาม ในส่วนของความหมายของทรัพยากรร่วม (CPRs) กับสาธารณสมบัติ (Public goods หรือ Collective goods) มีความแตกต่างกัน สาธารณสมบัติ คือ ทรัพย์สินที่มีไว้ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน (State property) มีคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) ไม่สามารถกันคนอื่นออกไปจากการใช้ได้ (Nonexcludable) เช่น ทุ่งเลี้ยงสัตว์ สาธารณะ 2) ไม่มีคู่แข่งแก่งแย่ง (Nonrival) คือ การที่คนหนึ่งเข้าใช้ ไม่ทำให้การใช้ประโยชน์ ของคนอื่นถดถอย เช่น ถนน การพยากรณ์อากาศ ทรัพย์สินสาธารณะอาจมาจากรัฐสร้างขึ้นเอง เพื่อบริการประชาชน หรือมอบหมายให้เอกชนสร้างก็ได้เมื่อรัฐสร้างไม่พอบริการ และเปิดให้ ประชาชนเข้าใช้ ทรัพยากรร่วม เป็นทรัพย์ประ เภท “Open access-resource” แต่ก็ไม่ได้ มีคุณสมบัติของสาธารณสมบัติทั้งหมด มีลักษณะเหมือนกันและต่างกัน คือ เหมือนกับสาธารณสมบัติ เป็นการยากที่จะกันผู้อื่นในการใช้หรือยากที่จะกัน Free-rider ออกไป และมีปัญหาการมีผู้เข้าใช้ เกินส่วนหรือเข้าใช้จำนวนมาก (Overuse crowding effect) เช่นกัน ในข้อเสนอการจัดการทรัพยากรร่วม จึงมีการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรร่วม การจำกัดในกรณีทรัพยากรร่วมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สะพานข้ามแม่น้ำ ผลจะทำให้ เกิดจราจรติดขัด แต่กรณีทรัพยากรธรรมชาติจะลดจำนวนผู้ใช้ในเวลาอันสั้นและยังลดการทำลาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3