การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
26 ทรัพยากรและเป็นการช่วยทำให้ทรัพยากรฟื้นตัว ดังนั้น ทรัพยากรร่วม จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับ ทรัพย์สินเอกชน (ซึ่งหวงกันคนอื่นเข้าใช้ได้ การใช้ประโยชน์มีผลทำให้คนอื่นไม่ได้ใช้) มากกว่า สาธารณสมบัติ (ซึ่งหวงกันคนอื่นเข้าใช้ไม่ได้ การใช้ประโยชน์ไม่มีผลทำให้คนอื่นไม่ได้ใช้) ในการ ใช้ สาธารณสมบัติ เราจะไม่สนใจว่าใครเข้ามาใช้และเมื่อใด แต่การใช้ทรัพยากรร่วมจะสนใจ ระวังอย่างยิ่งว่าไม่ให้มีผู้ใช้มากเกินไป ใช้ได้ที่ใดและเมื่อใด รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลเพียงใด ฉะนั้น หากหลักเกณฑ์การเข้าใช้ทรัพยากรก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแบ่งปันและเป็นระเบียบ ผู้ใช้ประโยชน์ในแหล่งทรัพยากรร่วมก็จะไม่มีแรงจูงใจในการจัดการแหล่งทรัพยากรนั้น ตารางที่ 1 เปรียบเทียบทรัพย์ประเภทต่างๆ (ธรรมนิตย์ สุมันตกุล (ออนไลน์), 2562) ประเภททรัพย์/ คุณลักษณะ สาธารณสมบัติ (Public goods) ทรัพย์สินเอกชน (Private goods) ทรัพยากรร่วม (CPRs) การหวงกัน (Exclusion) ยากแก่การหวงกันคนอื่น เข้าใช้ เพราะเป็นทรัพย์ สาธารณะ ทุกคน เข้า ใช้ได้ ง่ายแก่ก ารห วงกัน เช่น ทำรั้วกั้น และ กฎ ห ม าย ให้ ค ว าม คุ้มครองความ เป็น เจ้าของ ยากแก่การหวงกันคนอื่น เข้าใช้ เพราะทุกคนเข้า ใช้ได้ การใช้ประโยชน์ (Subtraction) ง่ายการใช้ประโยชน์ของ คนหนึ่งไม่กระทบต่อการ ใช้ของคนอื่น ยากที่จะไม่กระทบ คนอื่น เพราะเจ้าของ มีสิทธิในการใช้ และ หวงแหน คนอื่นไม่ได้ ใช้ เว้น แต่ เจ้าข อ ง ยอม การใช้ CPRs ของชุมชน ย่ อ ม ก ร ะ ทบ สิท ธิ ข อ ง บุคคลอื่น ฉะนั้น แนวคิด แม้ว่าทรัพยากรร่วม (CPRs) จะเป็นทรัพย์สินส่วนรวม (Collective property หรือ Public goods) ซึ่งมีคุณสมบัติหวงกันยากหรือกีดกันการใช้ของคนอื่นไม่ได้ก็ตาม แต่ก็มีลักษณะค่อนข้างไปทางทรัพย์สินเอกชน (Private goods) ซึ่งมีความเป็นเจ้าของ การดูแล หวงกัน และบำรุงรักษาใกล้เคียงกับทรัพย์สินเอกชน จากการศึกษาของ Elinor Ostrom และคณะ ได้ข้อสรุปว่าแม้ชุมชนจะมีลักษณะ แตกต่างกัน การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม ที่ประสบความสำเร็จนั้นประกอบด้วยหลักการ 8 ประการ ดังนี้ หลักการบริหารจัดการสถาบัน CPRs อย่างยั่งยืน (Design principles illustrated by long-enduring CPR institution) 1) กำหนดขอบเขตของการจัดการ และกำหนดสมาชิกหรือครัวเรือนที่จะได้รับ ประโยชน์หรือแสวงประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรร่วมกัน กล่าวคือ ขอบเขตพื้นที่การจัดการร่วม (Boundaries) และผู้รับประโยชน์ (Appropriators) ต้องชัดเจน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3