การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

27 2) กฎกติกาการแสวงประโยชน์ทรัพยากรต้องสอดคล้องกับจารีตประเพณี ของชุมชนหรือสมาชิก และต้องมีรายละเอียดถึงการกำหนดช่วงเวลาการใช้ บริเวณ วิธีการ เทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ และปริมาณของทรัพยากรที่อนุญาตให้หาได้ รวมทั้งค่าธรรมเนียมการใช้ (ถ้าจำเป็น) หลักการนี้จะช่วยให้แยกแยะการแบ่งปันทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะที่ไม่สามารถแบ่งปัน หรือแยกกันเป็นส่วนๆ ได้อย่างชัดเจน หรือต้องสลับกันไปตามพื้นที่ เช่น การแบ่งปันทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจากแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งกักเก็บที่สร้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรทราบปริมาณน้ำที่สามารถ ใช้ได้และทราบเวลาการใช้ที่แน่นอน ชัดเจน หลักเกณฑ์นี้มีความจำเป็นเพื่อไม่ให้มีการแสวงประโยชน์ เกินความสามารถฟื้นตัวของทรัพยากร 3) มี วิ ธี ตั ด สิ น ใ จ เลื อ ก จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ร่ ว ม กั น ( Collective choice arrangements) โดยสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการ จัดการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขกติกานั้น 4) การติดตามควบคุมดูแล (Monitoring) เป็นการตรวจสอบการกำหนดเงื่อนไข และวิธีการแสวงหาประโยชน์ทรัพยากรของสมาชิก เพื่อให้มีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ 5) บทลงโทษที่เหมาะสม (Graduated sanction) ผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบจะต้อง ได้รับโทษซึ่งขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำและผล 6) มี ก ล ไ ก แ ก้ ปั ญ ห า ข้ อ ขั ด แ ย้ ง ร ะ ห ว่ า ง ส ม า ชิ ก ( Conflict-resolution mechanisms) และจะต้องมีวิธีการที่ต้นทุนไม่สูงนัก 7) สิทธิในการจัดการของสมาชิกจะต้องไม่ถูกแทรกแซงโดยอำนาจภายนอก โดยเฉพาะอำนาจบังคับบัญชาของหน่วยงานของรัฐหากจะเข้ามาแทรกแซงก็ควรน้อยที่สุด (Minimal recognition of rights to organize) 8) สำหรับการจัดการทรัพยากรร่วมที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีการบริหารจัดการ เชิงเครือข่าย (Nested enterprises) จากหลักการบริหารจัดการสถาบันทั้ง 8 ประการดังกล่าวนี้ หากชุมชนท้องถิ่น ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาเป็นรูปแบบบริหารจัดการ ทรัพยากรร่วมกันของคนในชุมชนท้องถิ่น ย่อมจะเกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ต่อการใช้ประโยชน์สาธารณะทะเลร่วมกันอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุที่การจัดการทรัพยากรตั้งอยู่ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าหากปล่อยให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปโดยปราศจากการควบคุมจาก หน่วยงานภาครัฐ หรือภาครัฐได้มอบหมายหรือปล่อยปละละเลยให้ภาคเอกชนเข้ามาครอบครองและ บริหารจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านอย่างเสรี ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นประโยชน์ สาธารณะประชาชนใช้ร่วมกันจะถูกใช้จนหมดสิ้นไปเพราะทุกคนจะกอบโกยผลประโยชน์ให้มากที่สุด โดยไม่สนใจที่จะช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และนำไปสู่การสูญสิ้นของ ทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต ในอดีตประเทศไทยใช้วิธีจัดการทรัพยากร อย่างน้อย 3 ลักษณะ คือ 1) รัฐเป็นผู้จัดการดูแลทรัพยากรร่วมเหล่านี้เอง เช่น มีการจัดตั้งเขตป่าสงวน เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ และทรัพยากรอื่น ๆ ภายในป่าโดยกันมิให้มีผู้ใดเข้าไปใช้ประโยชน์ใด ๆ จากป่า ได้เลย เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3