การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

28 2) รัฐให้สัมปทานกับเอกชนในการใช้ประโยชน์และดูแลทรัพยากร 3) ผู้ใช้ทรัพยากรเป็นผู้กำหนดกติกาในการใช้และการดูแลทรัพยากรเหล่านั้นเอง เช่น กรณีของป่าชุมชนหรือการจัดการน้ำระหว่างหมู่บ้านที่ใช้แหล่งน้ำร่วมกัน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ผลการดำเนินการเพื่อจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์ของ 2 วิธีแรกนั้นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีประสิทธิภาพในการดูแล และจัดการทรัพยากรดังที่เห็นได้จาก การเสื่อมโทรมลงของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรในประเทศไทย เช่น พื้นที่ป่า สภาพน้ำ เป็นต้น การจัดการในลักษณะที่ 3 นั้นยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากภาครัฐมากนัก และ มักนำไปสู่การเกิดข้อพิพาทระหว่างภาครัฐและชาวบ้านบ่อยครั้ง เนื่องจากปัญหาเรื่องการทับซ้อน ระหว่างที่ดินทำกินหรือบริเวณทรัพยากรที่ชาวบ้านใช้ดำรงชีวิตกับพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นของรัฐ เช่น เขตป่าสงวน เป็นต้น หรือมีการให้โฉนดที่ดินกับเอกชนรายอื่นทับซ้อนกับพื้นที่ดังกล่าวปัญหานี้ ส่งผลต่อความสามารถในการดำรงชีวิตของชาวบ้าน และเกี่ยวโยงกับประเด็นความเป็นธรรมในสังคม ปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ ภาครัฐยังคงไม่สามารถหาวิธีการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม คือ สามารถตอบทั้งโจทย์เรื่องการอนุรักษ์ และโจทย์เรื่องความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ (ชล บุนนาค, 2555) หากนำแนวความคิดการจัดการทรัพยากรร่วมมาปรับใช้กับการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านนั้น สามารถอธิบายได้ว่า การดำเนินการเพื่อจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์ โดยใช้วิธี ให้รัฐเป็นผู้จัดการดูแลทรัพยากรร่วมเอง กับวิธีรัฐให้สัมปทานกับเอกชนในการใช้ประโยชน์และดูแล ทรัพยากร เห็นว่าวิธีการจัดการทรัพยากรลักษณะที่ 1 และลักษณะที่ 2 นั้นวิธีจัดการทรัพยากร อาจไม่มีประสิทธิภาพในการดูแล บริหารจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านให้เกิดความยั่งยืนได้ หากนำวิธีการจัดการในลักษณะที่ 3 ซึ่งผู้ใช้ทรัพยากรเป็นผู้กำหนดกติกาในการใช้และการดูแล ทรัพยากรเหล่านั้นเอง สามารถใช้เป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและ เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรประมงพื้นบ้านได้ หากวิธีลักษณะที่ 3 ได้รับยอมรับและสนับสนุน จากภาครัฐและชุมชนท้องถิ่นอย่างจริงจัง เพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และ เป็นการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านที่มีประสิทธิภาพสร้างความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำ ในชุมชนและสังคม ทรัพยากรประมงเป็นสมบัติของสาธารณะ ที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้ร่วมกัน แต่มักจะควบคุมดูแลโดยคนในชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในแต่ละแห่ง ทรัพยากรประมง จึงมีคุณสมบัติของการเป็นทรัพย์สินร่วม (Common property resources) กล่าวคือ เป็นทรัพย์สิน สาธารณะที่ทุกคนในชุมชนที่ทรัพยากรนั้นตั้งอยู่ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ แต่หากปล่อยให้ทุกคนเข้าไป ใช้ประโยชน์โดยไม่มีการควบคุม ทรัพยากรเหล่านั้นก็มีแนวโน้มที่จะถูกใช้เกินขนาด และนำไปสู่ ความเสื่อมโทรมในที่สุด ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรที่เป็นทรัพย์สินร่วมไม่ให้ตกอยู่ในสภาพ เสื่อมโทรม และมีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการในการ บริหารจัดการให้เหมาะสมกับลักษณะของทรัพยากร อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหา หรือการจำกัด สิทธิการใช้ เพื่อการบริหารจัดการนั้นจำเป็นต้องมีการคิดให้รอบด้าน และเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการบริหารควบคุม ทั้งที่เกิดจากการบริหารของชุมชน หรือโดยรัฐเอง ก็มักจะเกิดปัญหา ข้อขัดแย้งจากผู้ที่โดนจำกัดสิทธิตามมาเสมอ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3