การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

29 การกำกับดูแลพื้นที่สาธารณะเมืองในฐานะทรัพยากรร่วม (ปาริษา มูสิกะคามะ, 2561) ได้นำเสนอผลการทบทวนโดยเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิสู่พื้นที่สาธารณะและ ความเป็นธรรมในการกำกับดูแล แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กรอบแนวคิดเรื่องการกำกับดูแล ทรัพยากรร่วม การกำกับดูแลพื้นที่สาธารณะเมืองในฐานะทรัพยากรร่วม และความเป็นธรรมในการ กำกับดูแลข้อสรุปสำคัญคือ แม้ว่าพื้นที่สาธารณะเมืองจะมีปัญหาพื้นฐานในลักษณะเดียวกันกับ ทรัพยากรร่วมประเภทอื่น ๆ คือ จำนวนผู้ใช้งานที่มากเกินไป การใช้ประโยชน์พื้นที่ด้วยวิธีการ ที่ไม่เหมาะสม และการไม่สามารถกีดกันผู้ใช้ประโยชน์คนอื่นที่ไม่ได้ร่วมแบ่งปันต้นทุนในการดูแล รักษาจะส่งผลทำให้ทรัพยากรมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานหรือเกิดความเสื่อมโทรม แต่การกีดกันผู้ใช้ประโยชน์ออกจากพื้นที่โดยสิ้นเชิงก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อการฟื้นฟูระบบทรัพยากรดังเช่น ทรัพยากรร่วมประเภทอื่น ๆ เพราะพื้นที่สาธารณะเมืองเป็นทรัพยากรร่วมที่ต้องการรักษาความสมดุล ระหว่างการถูกใช้ประโยชน์และการถูกกีดกันจากการใช้ประโยชน์ วัตถุประสงค์สูงสุดของการ กำกับดูแลพื้นที่สาธารณะจึงเป็นเรื่องของการรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพของพื้นที่ให้สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการใช้ประโยชน์ของกลุ่มคนในสังคมที่หลากหลายอย่างเท่าเทียมกัน ในขณะที่ ยังคงรักษาความสมดุลระหว่างการถูกทิ้งร้างกับการถูกใช้งานอย่างแออัดในวิถีทางที่ไม่เหมาะสม ในเชิงข้อสรุปยืนยันว่าภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของการกำกับดูแลพื้นที่สาธารณะเมืองคืออำนาจรัฐและ ระบบทุนนิยม เพราะสามารถส่งผลทำให้พื้นที่สาธารณะเมืองถูกแปลงเป็นสินค้าเอกชน ซึ่งจะทำให้ เกิดการกีดกันสิทธิของคนออกจากพื้นที่ รวมถึงเกิดการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัว ซึ่งผู้ที่จะ ได้รับผลกระทบสูงสุดเสมอก็คือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในเมืองนั้นเอง ทะเลถือเป็นพื้นที่สาธารณะ ประชาชนพลเมืองทุกคนมีสิทธิเข้าใช้และแสวงหา ประโยชน์จากทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นทรัพยากรร่วมได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้ประโยชน์ มากเกินไป การใช้เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย การบุกรุกพื้นที่สาธารณะในทะเลในลักษณะ การจับจองเป็นเจ้าของ และปัญหาชาวประมงต่างถิ่น หรือประมงพาณิชย์ เข้ามาลักลอบทำการ ประมงในเขตทะเลชายฝั่ง การใช้เครื่องมือประมงต่างชนิดทำประมงในแหล่งทรัพยากรของ ประมงพื้นบ้าน อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพความสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และการถูกใช้ประโยชน์ ซึ่งประมงพื้นบ้านนั้นส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือทำการ ประมงประเภทไม่ทำลายล้าง ดังนั้น หากไม่มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจทำให้เกิด ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรประมง และทรัพยากรเกิดความเสื่อมโทรมได้ การกีดกันไม่ให้ใคร เข้าไปใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงโดยสิ้นเชิง จะปรากฎในรูปแบบของการกำหนดเขตอนุรักษ์ของ หน่วยงานภาครัฐ เพราะหากไม่มีสิ่งใดไปรบกวนจะมีผลดีต่อการฟื้นฟูระบบทรัพยากรประมงพื้นบ้าน สัตว์น้ำจะเพิ่มมากขึ้น การจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนท้องถิ่นซึ่ง (อัยรวี วีระพันธ์พงศ์, 2560) ได้ศึกษาลักษณะและกระบวนการการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการจัดการ ทรัพยากรร่วมของชุมชนคลองลัดมะยม จำแนกได้ 2 ด้าน คือ ด้านทรัพยากรน้ำ โดยมีการ ใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร การคมนาคม ตลาดน้ำ การท่องเที่ยว และ ด้านทรัพยากรดิน โดยมีการใช้ประโยชน์ในด้านตลาดน้ำ และแหล่งการเรียนรู้ ส่วนกระบวนการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3