การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

30 จัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน คือ การออกแบบกติกาในการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน การใช้กติกาในการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน และการจัดการและการพัฒนาองค์การของชุมชน การให้ชุมชนเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรประมงซึ่งถือเป็นทรัพยากรร่วมนั้น โดยผ่านกระบวนการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน ในการออกแบบกำหนดกฎกติการ่วมกัน เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ การจัดการทรัพยากรร่วมของท้องถิ่น (อนุชา โคตรศรีวงษ์ & กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์, 2562) ได้ศึกษาปัญหาการบริหารทรัพยากรน้ำที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ความร่วมมือกัน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ ในบริเวณบึงกระชา อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารทรัพยากรน้ำ ตามแนวทางการจัดการทรัพยากรร่วม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา และเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ทรัพยากรร่วม ผลการวิจัยพบว่า การจัดการทรัพยากรน้ำในบึงกระชา ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเพราะมีปัญหาและผลกระทบจากการจัดการทรัพยากรหลายด้าน ทั้งทางด้านการใช้ประโยชน์และขอบเขตการใช้ประโยชน์ ด้านกติกาและบทลงโทษในการใช้ประโยชน์ ด้านงบประมาณในการจัดการ ด้านการดูแลรักษาและด้านการจัดการความขัดแย้ง การจัดการ ทรัพยากรน้ำในบึงกระชา ควรคำนึงถึงบริบทของพื้นที่ในทุกมิติ เน้นความร่วมมือกันทุกภาคส่วนรวม ไปถึงต้องให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ดังนี้ การจัดการ ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจเกิดจากการจัดการ การใช้ประโยชน์ ขอบเขตการใช้ กฎกติกา บทลงโทษ งบประมาณในการดูแลรักษา การจัดการความขัดแย้งต้องคำนึงถึงบริบทขอ งพื้นที่ ในด้านต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืน ได้นั้น จะต้องเกิดคนในชุมชน และจะต้องมุ่งแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการ ขับเคลื่อนด้วย การผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรร่วม (นิยม ยากรณ์ & สมยศ ปัญญามาก , 2561) ซึ่งได้ศึกษาเงื่อนไขเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและการเมือง การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยภาคประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ได้มีรวมตัวกัน การเคลื่อนไหวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้อำนาจผ่านองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นใช้กระบวนการกระจายอำนาจตามข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นการต่อสู้เชิงอำนาจระหว่าง ประชาชนกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในระดับพื้นที่ที่มีอำนาจตามกฎหมายจากส่วนกลางในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรของรัฐที่ด้อยประสิทธิภาพที่ผ่านมา โดยรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง และกำหนดกฎหมาย นโยบายในการควบคุมการจัดการทรัพยากร ทำให้ เกิดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร การสร้างข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ทรัพยากรร่วมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการ ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนต่อไป การกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้ามาบริหารจัดการ ท้องถิ่นด้วยตนเอง โดยการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะเป็นทรัพยากรร่วมได้ เนื่องจากในอดีตการจัดการทรัพยากร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3