การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

31 จะมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ดังเช่น การออกกฎหมายต่างๆ ท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วม ในกระบวนการต่าง ๆ ค่อนข้างน้อย จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น จะต้องเปิดโอกาส ให้คนในชุมชนประมงพื้นบ้านที่มีส่วนได้เสีย เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อจะได้เข้าใจและสอดคล้องกับ วิถีของชุมชน 2.1.2 หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งการเลือก วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ประสบความสำเร็จจะต้องให้เหมาะสมกับสถานภาพ เวลา สถานที่ และการควบคุมการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมด้วย การดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพต้องสร้าง ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกันทุกฝ่าย มิฉะนั้นจะเกิดการผิดพลาด หรือผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิธีการอนุรักษ์ที่สำคัญมี 8 วิธีการ (ปิยะดา วชิระวงศกร, 2562) ดังนี้ 1) การใช้แบบยั่งยืน (Sustainable utilization) เป็นการใช้ด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลิตผลมากแต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม น้อยที่สุด การจัดการและการใช้ประโยชน์ที่ทำให้ทรัพยากรสามารถฟื้นตัวหรือเกิดขึ้นมาใหม่ ได้ทันต่อความต้องการใช้งานของมนุษย์ ต้องคำนึงถึงการจัดหาและเลือกเทคโนโลยีการนำของเสีย ที่เกิดขึ้นมาใช้ประโยชน์ด้วย 2) การเก็บรักษา (Storage) เป็นการเก็บรวบรวมและเก็บกักทรัพยากรที่มีแนวโน้ม ที่จะขาดแคลนในบางเวลาหรือคาดว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น บางครั้งอาจเก็บกักเอาไว้เพื่อนำไปใช้ ป ระ โยชน์ ในป ริมาณ ที่สามารถค วบคุม ได้ ซึ่ งก าร เก็บ รักษ า ในบ ริบทข อ งก ารอนุ รักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การเก็บทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ใช้ในอนาคต หรือเพื่อเอาไว้ใช้ในการ สร้างกิจกรรมอื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดหรือบางประเภท จะมีมากเกินไปในบางเวลา แต่ขาดแคลนหรือไม่มีในอีกบางช่วงเวลาหนึ่ง หรือทรัพยากรบางชนิด มีการเน่าเปื่อยหรือเสื่อมสลายได้เร็ว มนุษย์จึงพยายามหาวิธีการเก็บทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น ไว้ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การถนอมอาหาร การทำยุ้งฉาง การเก็บกักน้ำ ทั้งนี้ ในการเลือกใช้วิธีเก็บกักรักษาทรัพยากรธรรมชาตินั้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และ กิจกรรมในการใช้ประโยชน์ 3) การรักษาหรือซ่อมแซม (Repair) เป็นการดำเนินการใด ๆ ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ที่ขาดไปหรือไม่ทำงานตามพฤติกรรมเนื่องจากมีการเสื่อมโทรมหรือมีปัญหา โดยอาจใช้เทคโนโลยี ที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้ามาช่วยให้ดีเหมือนเดิมจนสามารถมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ได้เช่นเดิม สำหรับ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีการถูกทำลายโดยมนุษย์หรือโดยธรรมชาติมีความจำเป็นต้องรักษาหรือ ซ่อมแซมให้เป็นปกติ การรักษาหรือการซ่อมแซมจะช่วยให้การเลื่อนไหลของกลไกเป็นไปตามปกติ อาจดำเนินการด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบำบัดหรือการแก้ไขในการจัดการ และ บุคลากรที่มีความรู้และความชำนาญด้วย 4) การฟื้นฟู (Rehabilitation) เป็นการดำเนินการให้ธรรมชาติที่ลดลงหรือเสื่อมโทรม สามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมได้โดยการปิดกั้นไม่ให้มีการรบกวนระบบของทรัพยากรธรรมชาตินั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3