การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
32 เพื่อให้ระบบมีเวลาในการฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมสามารถเอื้อประโยชน์ในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ต้องให้ความรู้และความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม อาจใช้เพียงวิธีการให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูด้วยตนเอง แต่ในบางกรณีก็ไม่สามารถให้ธรรมชาติ ช่วยได้ จึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูด้วยเทคโนโลยี โดยขึ้นอยู่กับชนิดของทรัพยากรธรรมชาติ ความเข้มข้นของความเสื่อมโทรมหรือมลพิษที่เกิดขึ้น รวมถึงชนิดหรือประเภทของเทคโนโลยี การฟื้นฟูเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืน 5 ) ก า ร พั ฒ น า ( Development) ที่ เป็ น ก า ร พั ฒ น า ที่ ยั่ ง ยื น ( Sustainable development) คือการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ มุ่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยมีการบำรุงรักษาและ ใช้ในอัตราที่จะเกิดทดแทนได้ทันอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้มีทรัพยากรใช้ในอนาคต รวมทั้งเสริมสร้าง คุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตชีวิตที่ดีของประชาชน และการพัฒนาต้องคำนึงถึงความเสียหาย ของสิ่งแวดล้อมและการป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมด้วย จึงเป็นการ ทำสิ่งที่เป็นอยู่โดยการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้กลไกสิ่งแวดล้อมทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งปกติ ทรัพยากรธรรมชาติแต่ละประเภทจะมีศักยภาพการผลิตตามกำลังของตนเอง ถ้ามีการเสริมสร้าง การใช้เทคโนโลยีไปกระตุ้นหรือเร่งเป็นกลไกช่วยในการทำหน้าที่แทนปกติแล้วอาจทำให้ผลผลิตสูงขึ้น 6) การป้องกัน (Protection) เป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เคยหรือกำลังถูกทำลายหรือมีแนวโน้มว่าจะถูกทำลาย เพื่อให้มีอัตราการนำทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ให้อยู่ในระดับที่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้ทัน จะช่วยทำให้มีทรัพยากรธรรมชาตินั้น ใช้ได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้อยู่ ในปริมาณที่เหมาะสมจนไม่เกิดการลุกลามหรือขยายอาณาเขตจนทำให้สภาวะแวดล้อมหรือ ระบบนิเวศเสียสมดุลไป ในการป้องกันอาจทำได้โดยการใช้มาตรการทางกฎหมายในการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สร้างบทเรียน การประชาสัมพันธ์สร้างขอบเขต ติดป้ายประกาศให้ความรู้ และ ความเข้าใจแก่ประชาชนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติ ถูกบุกรุกหรือถูกทำลาย สามารถเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์ได้ตลอดไป 7) การสงวน (Preservation) เป็นการเก็บสงวนทรัพยากรธรรมชาติไว้ไม่ให้มี การนำมาใช้ เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาตินั้นกำลังจะหมดสิ้นหรือสูญพันธุ์ไป ทรัพยากรธรรมชาติ บางชนิดเมื่อมีการสงวนไปในระยะเวลาหนึ่งอาจทำให้มีจำนวนหรือประมาณเพิ่มขึ้นจนสามารถ ที่จะเริ่มนำมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวอาจมีการยกเลิกการสงวนและอนุญาตให้นำ ทรัพยากรธรรมชาตินั้นมาใช้ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือมาตรการในการควบคุม การสงวน อาจจะดำเนินการกับทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะที่เป็นพื้นที่ เช่น ป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ หรือ เขตสงวนเพื่อการอนุรักษ์ 8) การแบ่งเขต (Zoning) เป็นการจัดการเชิงพื้นที่ให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมสำหรับ การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติชนิดนั้น ๆ และยังเป็นการช่วยให้สามารถกำหนดมาตรการ ดำเนินการต่าง ๆ ได้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ การแบ่งเขตถือว่าเป็นการอนุรักษ์ขั้นสุดท้าย ในการดำเนินการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหากใช้การจัดการอนุรักษ์ในรูปแบบอื่น ๆ แล้ว ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากในกระบวนการแบ่งเขตหรือการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์มีการใช้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3