การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

33 กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ โดยเขตพื้นที่เหล่านี้มั กจัดการพื้นที่ให้มี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์และเจริญเติบโต ซึ่งวิธีการแบ่งเขตอาจใช้พื้นที่ ลักษณะทางภูมิประเทศ เป็นเกณฑ์ในการกำหนดขอบเขตพื้นที่เพื่อให้เกิดความสะดวกและเหมาะสม ก่อให้เกิดประโยชน์ในการดูแลรักษาหรือเป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างดีวิธีการหนึ่ง ในการขับเคลื่อนชุมชนประมงพื้นบ้านนั้น การจัดการความรู้เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ สำหรับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (สายัญ ทองศรี, 2562) ได้ศึกษาพบว่า บริบทของชุมชนประมงพื้นบ้านซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล อาชีพหลักคือการทำประมง ประสบความสำเร็จในการเพาะฟักปูทะเล และการบริหารจัดการทรัพยากรหน้าบ้านตนเอง ประกอบด้วย ธนาคารปู ซั้งกอ บ้านปลา แนวเขตหน้าบ้านและกฎกติกาชุมชน โดยสภาพการจัดการ ความรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชนประมงพื้นบ้าน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างและประมวลความรู้ การจัดเก็บความรู้ การถ่ายทอดความรู้และการแบ่งปันความรู้ และการปรับใช้ความรู้ ซึ่งเงื่อนไข ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ความรู้ และภูมิปัญญา และภาวะผู้นำ ในการขับเคลื่อนชุมชนประมงพื้นบ้ านด้วยการจัดการความรู้ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย จังหวัดสงขลา พบว่า ชุมชน มีการวางแผนที่ดีในการนำรูปแบบการจัดการความรู้ที่ค้นพบมาใช้ขับเคลื่อนชุมชน หลังจากการนำ รูปแบบการจัดการความรู้ดังกล่าวมาใช้ ทำให้ชุมชนเกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งมากขึ้น เกิดระบบนิเวศชายฝั่งที่สมบูรณ์และมีสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ชุมชนมีรายได้ เพิ่มมากขึ้นจากการจับสัตว์น้ำที่มีเพิ่มขึ้นในพื้นที่ของชุมชนรวมทั้งเกิดการขยายผลไปยัง ชุมชนใกล้เคียงให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้วยการนำรูปแบบ การจัดการความรู้แบบเดียวกันไปใช้ในชุมชน ดังนั้น หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล อาจะใช้วิธีการอนุรักษ์หลาย วิธีผสมผสานกัน ซึ่งการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงด้วยวิธีการการใช้แบบยั่งยืน การเลือกใช้เครื่องมือ จับสัตว์น้ำที่ถูกต้องตามกฎหมาย ชนิดและขนาดของเครื่องมือที่ใช้ไม่เป็นการทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะทำให้สัตว์น้ำเหล่านั้นมีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ได้ หากกรณีมีการจับสัตว์น้ำได้ ปริมาณมากเหลือจากการบริโภคภายในครัวเรือนหรือการจำหน่าย ก็อาจใช้วิธีการอนุรักษ์ด้วยการ กักเก็บรักษา ถนอมอาหาร ตากแห้ง หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า ในกรณีที่สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งที่สัตว์น้ำอยู่อาศัยเกิดความเสื่อมโทรม ก็มีความจำเป็นที่จะต้อง อนุรักษ์ด้วยการรักษาหรือซ่อมแซมให้อยู่ในสภาวะที่สมดุลเป็นไปตามกลไกธรรมชาติ หรือวิธีการ อนุรักษ์ด้วยการฟื้นฟู อาจปิดกั้นพื้นที่บางส่วนไม่ให้มีการรบกวนระบบของธรรมชาติ เสริมด้วยการ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การทำปะการังเทียม การวางซั้ง เพื่อให้ทรัพยากรมีโอกาสฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิม แม้ทรัพยากรประมงจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ทดแทนได้ แต่หากใช้ วิธีการให้ธรรมชาติฟื้นฟูด้วยตนเองอาจไม่เพียงพอเนื่องจากจะต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน อาจไม่ทันต่อความต้องการในการใช้ประโยชน์ การพัฒนาที่ยยั่งยืน ก็เป็นอีกวิธีการอนุรักษ์ที่มุ่งใช้ ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยมีการบำรุงรักษาและใช้ในอัตราที่จะเกิดการ ทดแทนได้ทัน มีการควบคุมปริมาณเรือ หรือการควบคุมการจับสัตว์น้ำไม่ให้เกินศักยภาพการผลิต

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3