การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

34 สูงสุด เพื่อจะได้มีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการใช้ในอนาคต ซึ่งอาจใช้วิธีการอนุรักษ์ด้วยการป้องกัน เพื่อคุ้มครองทรัพยากรประมงที่เคยหรือกำลังถูกทำลาย หรือมีแนวโน้มว่าจะถูกทำลาย ให้มีการ ออกกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ การประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน หากเป็นพื้นที่มีความเปาะบางการสงวนรักษาไม่ให้มีการเข้าไปใช้ประโยชน์เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ได้ อาจกำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งในการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลนั้น การจัดการเชิงพื้นที่เป็นวิธีการอนุรักษ์ด้วยการแบ่งเขต เป็นอีกรูปแบบหรือตัวช่วยสำคัญที่สามารถกำหนดมาตรการดำเนินการต่าง ๆ โดยมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษา และจัดการ ซึ่งมีกลุ่มประมงพื้นบ้านบางพื้นที่มีการกำหนดแนวเขตเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง หน้าบ้านของตนเอง แต่อาจติดปัญหาเนื่องจากการบังคับใช้กฎระเบียบ กติกาหรือข้อบังคับต่าง ๆ ยังเป็นที่รับรู้ได้เฉพาะคนในชุมชน ในการขับเคลื่อนชุมชนประมงพื้นบ้านนั้น การจัดการความรู้เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญสำหรับ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดังที่ (สายัญ ทองศรี, 2562) ได้ชี้ให้เห็นว่าจาก ความสำเร็จในการเพาะฟักปูทะเล และการบริหารจัดการทรัพยากรหน้าบ้านตนเอง ในรูปแบบของ ธนาคารปู ซั้งกอ บ้านปลา แนวเขตหน้าบ้านและกฎกติกาชุมชน การขับเคลื่อนชุมชนประมงพื้นบ้าน ด้วยการจัดการความรู้ ทำให้ชุมชนเกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เกิดระบบ นิเวศชายฝั่งที่สมบูรณ์และมีสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ชุมชนมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำ ที่มีเพิ่มขึ้นรวมทั้งเกิดการขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งด้วยการนำรูปแบบการจัดการความรู้แบบเดียวกันไปใช้ในชุมชน 2.1.3 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ปัจจุบันคำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง นับตั้งแต่ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศ มีฉันทามติรับรองและประกาศ เป็น “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable development goals (SDGs) 17 ประการ ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) นิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง มาจาก รายงานชื่อ “อนาคตของเราร่วมกัน” (Our common future) หรือที่เรียกกันว่า “รายงานบรันดท์ แลนด์” (Brundtland report) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) โดยคณะกรรมาธิการโลก ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือคณะกรรมมาธิการบรันดท์แลนด์ รายงานนี้ได้รับการเผยแพร่ ในช่วงที่มีการตื่นตัวเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและผลกระทบจากการกระทำ ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมจนกระตุ้นให้มีการสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่ ๆ ที่เป็นองค์รวมและ มีความสมดุลมากขึ้น รายงานฉบับนี้ได้ให้ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ว่า “เป็นวิถีการพัฒนา ที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลดศักยภาพในการตอบสนอง ความต้องการของคนรุ่นต่อไป” รายงานบรันดท์แลนด์ตั้งชื่อตาม Gro Harlem Brudtland ซึ่งเป็นประธานของ คณะกรรมมาธิการบรันดท์แลนด์ รายงานฉบับนี้เน้นไปที่การให้นิยามใหม่ของความสัมพันธ์ ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ระหว่าง “สิ่งแวดล้อม” ซึ่งหมายถึง “ที่ที่เราอาศัยอยู่” กับ “การพัฒนา” คือ “สิ่งที่เราทำทั้งหมด” เพื่อพยายามที่จะปรับปรุงพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่” รายงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3