การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

35 ฉบับนี้แสดงความห่วงใยต่อการรักษาความสมดุลในระดับโลกเพื่อคนรุ่นหลัง ด้วยการหาทางจัดสรร ทรัพยากรใหม่ให้ประเทศที่ยากจนกว่า เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสร้างความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะนำพาผู้คนและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาผนึกกำลังร่วมกัน โดยให้ความสำคัญ กับการพัฒนาที่สมดุล เพื่อบรรลุความเท่าเทียมกันทางสังคม การเติบโตทางเศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม เกิดเป็น “เสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน” ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นหลักการพื้นฐานและเป้าหมายของการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม โดยมีหัวใจหลักอยู่ที่การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554) อีกทั้งยังมีความจำเป็นและความสำคัญต่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองทรัพยากร อย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นพันธะหน้าที่บางประการ ที่รัฐแต่ละรัฐต้องแสวงหาทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะโดยกลไกภายในรัฐเองหรือโดยการแสวงหาความร่วมมือในทางระหว่างประเทศ ในการ ประสานประโยชน์ระหว่างการใช้ประโยชน์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศให้มี ความสมดุลสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2542) เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนามีความเชื่อมโยงกันระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการพัฒนาระดับนานาชาติไปจนถึง พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากการติดตามผลของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium development goals; MDGs) ที่ เริ่มใช้เมื่อ พ .ศ. 2544 (ค .ศ. 2001 ) สำหรับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีทั้งสิ้น 17 เป้าหมาย ทุกเป้าหมายล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การบรรลุเป้าหมายหนึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายอื่นด้วย ในทางตรงกันข้ามหากไม่สามารถปฏิบัติ ได้ตามเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งก็อาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน (ศูนย์ศึกษา การพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562) ดังนี้ เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพ สำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและ เท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศแลให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิง ทุกคน เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถ ซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3