การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

36 เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเล อย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการ ป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพ กลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคน เข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน (ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์, 2563) เห็นว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีคุณูปการ หลายประการ ทั้งการสร้างความตระหนักรู้ และความตื่นตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคมว่าการพัฒนาในอนาคต มนุษย์ไม่อาจนิ่งเฉยต่อปัญหาสังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้สังคมสร้างนวัตกรรม มาตรการ และองค์ความรู้ใหม่ ๆ อย่างน้อยเพื่อที่จะตอบสนองต่อ แนวทางการสร้างความยั่งยืน ซึ่งนับว่าเป็นความพยายามที่มีคุณค่าต่อสังคมโลก เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนจะช่วยให้การพัฒนาของโลกมีทิศทางและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในการสร้างความยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ส่วนที่สำคัญคือความจริงใจและจริงจัง ในการนำแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่แต่ละประเทศในโลกต้องช่วยกันสร้างความสมดุล ให้แก่ระบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มนุษยชาติสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ได้นานที่สุด เพราะมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หากปราศจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ยั่งยืน มิใช่หน้าที่ของรัฐแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นหน้าที่ของ ทุกภาคส่วนรวมไปถึงประชาชนที่ต้องช่วยกันตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นหากไม่ช่วยกันรักษา สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะทฤษฎีการพัฒนาทั้งหลาย การตั้งเป้าหมาย การดำเนินการ และตัวชี้วัดการพัฒนาเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่เสมือนแผนที่การเดินทางเท่านั้น (ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร, 2562) ทะเลมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์และสรรพสัตว์บนโลก เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ชีวิตใต้น้ำ (Life below water) มุ่งให้มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยกำหนด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3