การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

37 เป็นจำนวน 10 เป้าประสงค์ พร้อมตัวชี้วัด (ระดับสากล) จำนวน 10 ตัวชี้วัด สำหรับการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเป้าหมาย ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการทรัพยากรประมง เพื่อควบคุมการประมงอย่างมีประสิทธิภาพ และ หยุดการจับสัตว์น้ำเกินศักยภาพ การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม การใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายทรัพยากรและระบบนิเวศ ตลอดจนการปฏิบัติตามแผนการจัดการ ที่กำหนดจากฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรประมงโดยเร็วที่สุดอย่างน้อย ให้อยู่ในระดับที่สามารถจับสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืนสูงสุด หรือ MSY (Maximum sustainable yield) ตามลักษณะทางชีวภาพของทรัพยากรนั้น ๆ ให้เกิดผลสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 เป็นสัดส่วนของ ประชากรประมง (Fish stocks) ที่อยู่ในระดับความยั่งยืนทางชีวภาพ ระดับที่มีความยั่งยืนทางชีวภาพ สามารถพิจารณาได้จากความอุดมสมบูรณ์ของ สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งภายใต้ระบบนิเวศในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งสามารถรักษาสมดุลของวงจรชีวิต ไว้ได้ตลอดไป เป็นหลักสำคัญในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้านการประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสหประชาชาติ ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) มาตรา 61 (3) กำหนดให้มีการวางมาตรการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมงให้อยู่ในระดับ ที่มีผลผลิตสูงสุดได้อย่างยั่งยืน โดยตรวจวัดจากระดับการจับสัตว์น้ำสูงสุดที่ยั่งยืน (Maximum sustainable yield: MSY) เป็นวิธีการประเมินผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่หนึ่ง เป็นการประเมินโดยใช้แบบจำลองผลผลิตส่วนเกิน (Surplus production models) ) ซึ่งเป็นวิธีการประเมินในภาพรวมของการประมงแบบง่าย โดยใช้ข้อมูลสถิติ ผลจับสัตว์น้ำกับปริมาณการลงแรงประมงในแต่ละปี จากการลงแรงประมงเพิ่มขึ้นในแต่ละปี จนถึง จุดหนึ่งแม้จะมีการลงแรงประมงเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณสัตว์น้ำลดลง ซึ่งจุดที่จับได้สูงสุดคือ MSY อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพของเครื่องมือประมงที่มีการ พัฒนาขึ้นด้วย และแนวทางที่สอง การประเมินโดยใช้การวิเคราะห์ประชากรเสมือน ( Virtual population analysis: VPA) เป็นการนำค่าพารามิเตอร์ทางชีววิทยาของสัตว์น้ำด้านการเจริญเติบโต การตายตามธรรมชาติ จำนวนของกลุ่มอายุของสัตว์น้ำแต่ละรุ่นในแต่ละปี รวมถึงประเมินผลผลิต สัตว์น้ำที่จับมาจากสัตว์น้ำทั้งหมดในทะเลและการลงแรงประมง และนำมาหาค่าผลจับสัตว์น้ำ ในแต่ละระดับมาพิจารณาซึ่งจุดที่มีค่าผลจับได้มากที่สุดจะเป็นค่า MSY เป้าประสงค์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล เห็นได้ ชัดจากเป้าประสงค์ 14.b ให้ประมงพื้นบ้านรายเล็ก (Small - scale artisanal fishers) สามารถใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและเข้าสู่ตลาดสำหรับผลผลิตทางการประมง และมีตัวชี้วัด 14.b.1 เป็นความก้าวหน้าของประเทศในการใช้มาตรการทางกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย กรอบการ ปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งให้การดูแลและปกป้องสิทธิของประมงขนาดเล็ก ประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้าน (Small - scale fisheries) เป็นประมงที่ใช้ แรงงานเป็นหลักในการทำประมงและการแปรรูป รวมถึงการอาศัยเทคโนโลยีที่พึ่งแรงงานในการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรประมง ประมงพื้นบ้านโดยเฉพาะการจ้างงาน รายได้ และความมั่นคง ทางอาหารเป็นประเด็นสำคัญที่กล่าวไว้ในจรรยาบรรณในเรื่องการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ พ .ศ. 2538 (FAO Code of conduct for

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3