การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 responsible fisheries 1995: CCRF) ซึ่งกำหนดหลักการและมาตรฐานที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ การจัดการ และการพัฒนาการประมงที่ครอบคลุมถึงการจับ กระบวนการแปรรูปและการค้าสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การวิจัยทางการประมง และการผสมผสานการประมง กับการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง อันเป็นข้อตกลงที่ประเทศสมาชิก FAO รับรองและนำไปปฏิบัติด้วย ความสมัครใจไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ (อำไพ หรคุณารักษ์ & กาญจนา ย่าเสน, 2558) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ จากสภาพปัญหา การทำประมงเกินขนาด (Overfishing) เกินกําลังการเสริมสร้างของสิ่งมีชีวิต ต่ำกว่าระดับ จำนวนที่ปลาทะเลจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ทันตามความต้องการของประชากร (สยาม อรุณศรมรกต & ยงยุทธ วัชรดุลย์, 2559) ล้วนส่งผลให้ทรัพยากรถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนได้สร้างกรอบการทำงานเพื่อจัดการและปกป้องระบบนิเวศทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาและเดินหน้าไปสู่การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้เกิดความยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มรณรงค์ ด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนชายฝั่งทะเล และประชาชนทุกคน เข้ามามีส่วนในการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเล รักษาความสมดุลกันระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม การที่กฎหมายให้ชุมชนชายฝั่งมีสิทธิ มีบทบาทเป็นผู้นำในการบริหารจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านหน้าบ้านของตนเอง เน้นการมีส่วนร่วม และเกิดจากความต้องการของคนในชุมชน มีส่วนช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านเกิดความยั่งยืน 2.2 ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-functionalism theory) ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยมเป็นทฤษฎีที่มีความเก่าแก่ สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกาทฤษฎี นี้ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง ค.ศ. 1940 จนถึงราว ค.ศ. 1965 หลังจากนั้นความนิยมก็เสื่อมถอยลง บ้าง แต่ก็ยังมีอิทธิพลอยู่จนถึงปัจจุบัน ตัวแบบตัวสังคม (Model of society) ทฤษฎีนี้ถือว่าสังคม เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นเพียงการเปรียบเทียบ (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2551) สังคมในฐานะ “ระบบ” ที่เกิดจากความจริงเกี่ยวกับสังคมโดยรวม (Total social facts) กลุ่มนักสังคมวิทยาในทฤษฎีโครงสร้างนิยมเชื่อว่ามีโครงสร้างบางอย่างซ่อนอยู่ในทุกสังคมและ โครงสร้างเหล่านั้นแสดงให้เห็นหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ที่เป็นระบบเชื่อมโยงกัน แต่ละสังคมมีโครงสร้าง ที่คล้ายกัน การทำงานของความคิดหรือสมองมนุษย์ (Human mind) มีโครงสร้างบางอย่างซ่อนอยู่ โดยมนุษย์ไม่รู้ตัว โครงสร้างมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโครงสร้างที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ และความสัมพันธ์ของสถาบันสังคม สำหรับทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม มีลักษณะการมองสังคม เชิงมหภาคคู่ขนานไปกับนักคิดปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ซึ่งมองสังคมในเชิงจุลภาค นักคิดคนสำคัญ ในทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ได้แก่ เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) นักสังคมวิทยา ชาวอังกฤษ และมีนักคิดแนวโครงสร้างนิยมในศตวรรษ 20 ที่เป็นชาวอเมริกาคือทัลคอตต์ พาร์สันส์ (Talcott Parsons) ดังนี้ (สุภางค์ จันทวานิช, 2563) เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer: 1820-1903) เป็นนักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ ที่เริ่มเสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างสังคม (Social structure) โดยมองว่า สังคม คือส่วนต่าง ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3