การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

39 ที่ประกอบกันเป็นมวลรวม เปรียบเสมือนระบบอินทรีย์ของร่างกายมนุษย์ที่ประกอบด้วยกลุ่มก้อน จุลินทรีย์ขนาดเล็กมาก สังคมเติบโตด้วยกระบวนการสองแบบ แบบแรกคือการพอกพูนของ หน่วยต่าง ๆ ตามธรรมชาติในลักษณะวิวัฒนาการ อีกแบบหนึ่งคือการประสานกันของส่วนต่าง ๆ หน่วยต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน การรวมตัวกันของกลุ่มต่าง ๆ ทำให้เกิดความสลับซับซ้อนมากขึ้น ในโครงสร้าง โดยโครงสร้างสังคมประกอบด้วยสถาบันสังคม 6 สถาบัน ประกอบด้วย สถาบัน ครอบครัว ทำหน้าที่ผลิตและเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ สถาบันพิธีกรรม ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ สถาบันการเมือง เช่น ประชาธิปไตย สถาบันศาสนา มีหลักคำสอนให้มนุษย์ยึดถือ สถาบันอาชีพ ทำให้เกิดการแบ่งงานเป็นส่วน ๆ ในสังคม และสถาบันเศรษฐกิจ มีการแบ่งระบบเป็นระบบทาส ระบบศักดินา และแรงงานเสรี เป็นต้น สถาบันสังคมเหล่านี้เกิดจากความจำเป็นของสถานการณ์ เกี่ยวกับหน้าที่และโครงสร้างในสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคม คือ ส่วนต่าง ๆ ของสังคม ที่ร่วมมือกัน โดยใช้แรงผูกพันทางกายภาพ อีกส่วนหนึ่งสัมพันธ์กันโดยสื่อกลาง คือ ภาษา (ท่าทาง การพู ด และภาษาเขียน) ส่วนต่าง ๆ ยังรวมตัวกันด้วยสำนึกที่กระจายไปทุกส่วน แต่สำนึกหรือความรู้สึกทางสังคมร่วมกันไม่ได้อยู่ในระดับ ที่เท่ากัน เพราะไม่มีศูนย์กลางประสาทความรู้สึกทางสังคมเหมือนร่างกายมนุษย์ สำหรับกฎของสังคม คือ กฎของการอยู่รอดของผู้แข็งแกร่งที่สุด (Survival of the fittest) ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติ ยิ่งประชากรเพิ่มมากขึ้น มนุษย์ก็ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ซึ่งรัฐจะต้องไม่เข้าไปแทรกแซง ความเป็นไปของกฎแห่งความอยู่รอดด้วยมาตรการสังคมสงเคราะห์ใด ๆ เพราะจะเป็นการบิดเบือน กระบวนการคัดเลือก แนวคิดของสเปนเซอร์เป็นแนวคิดแบบลัทธิดาร์วิน (Darwinism) ซึ่งเชื่อ ในกระบวนการคัดสรรตามธรรมชาติ และผู้ที่แข็งแกร่งจะเป็นผู้ที่อยู่รอดในสังคม โดยมีระบบอินทรีย์ ทางสังคม (Social organic system) ที่ส่วนต่าง ๆ ของสังคมจะทำหน้าที่ของตน และสังคมจะดำเนิน ไปได้เพราะทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำหน้าที่ระบบชีวอินทรีย์ของร่างกาย (Biological organic system) เป็นการหน้าที่นิยม (Functionalism) ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลง หน้าที่และการเพิ่มขนาดของหน่วยต่าง ๆ ในสังคม การทำความเข้าใจองค์กรหนึ่งว่ามีการก่อกำเนิด และพัฒนาอย่างไร จะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้น ซึ่งสังคมมีการเปลี่ยนแปลงแบบ วิวัฒนาการ เหมือนโลกชีวภาพกายภาพ คือ เปลี่ยนจากภาวะที่ไม่แน่นอน ไม่ต่อเนื่อง มีความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันไปสู่สภาวะที่แน่นอน ต่อเนื่องและความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสากล เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ก็เหมือนการเปลี่ยนแปลงของปรากฎการณ์ธรรมชาติ ขณะเปลี่ยนแปลงสังคมจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีหน้าที่และโครงสร้างซับซ้อน ถ้าไม่เปลี่ยนโครงสร้างสังคม ก็จะไม่อยู่รอด จึงจะต้องมีการแบ่งแยกโครงสร้างและหน้าที่ส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน พฤติกรรม การกระทำทางสังคม ปัจเจกชนนิยม มนุษย์ต้องมีเสรีภาพ สังคมหรือรัฐควรควบคุม มนุษย์น้อยที่สุด ยกเว้นเรื่องการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและการร่วมกันป้องกันศัตรู จากภายนอกเท่านั้น ปัจเจกบุคคลมีพันธสัญญากับรัฐโดยสมัครใจ รัฐปล่อยให้แต่ละคนมีอิสรภาพ ไม่บังคับควบคุม สำหรับกรรมสิทธิ์ร่วมและสังคมนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสำหรับสังคม ปัจเจกบุคคลควรมีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลได้ ซึ่งสถาบันทางสังคม ไม่ได้เกิดจากเจตนาของผู้กระทำ แต่เกิดจากความจำเป็นของสถานการณ์เกี่ยวกับหน้าที่และโครงสร้าง อาจถือได้ว่าสเปนเซอร์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3