การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
40 เป็นนักสังคมวิทยาที่เริ่มเสนอทฤษฎีการหน้าที่นิยม (Functionalism) เป็นคนแรก จากการวิเคราะห์ โครงสร้างสังคมในรูปของสถาบันทางสังคมที่มีหน้าที่ต่าง ๆ กันไป ทัลคอตต์ พาร์สันส์ (Talcott Parsons: 1902-1979) กล่าวถึง “ระบบสังคม” และ “หน้าที่” ว่า หน้าที่คือ กลุ่มของกิจกรรมที่ดำเนินไปเพื่อสนองความต้องการของระบบสังคม มีการทำกิจกรรม เป็นกลุ่ม ๆ การทำความเข้าใจระบบสังคม จะต้องพิจารณาจากหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ประกอบด้วย 1) การปรับตัว (Adaptation) คือ การที่สังคมจัดให้มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ สิ่งแวดล้อมและความต้องการของระบบ หากสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมไม่ตรงกับความต้องการของ ระบบก็ต้องมีการปรับตัว การปรับตัวเป็นหน้าที่พื้นฐานที่จะทำให้ระบบสังคมที่ไม่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อม สามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ 2) การบรรลุเป้าหมาย (Goal attainment) สังคมต้องมีการกำหนดเป้าหมายและระบบ ต่าง ๆ ก็จะทำหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลัก 3) บูรณาการ (Integration) คือ หน้าที่ในการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันของระบบ ต่าง ๆ ซึ่งจะต้องดำเนินไปร่วมกัน เนื่องจากระบบสังคมประกอบด้วยระบบย่อยที่แตกต่างกัน และ มีกลุ่มกิจกรรมเฉพาะของตน จำเป็นจะต้องมีการดูแลให้เกิดการประสานสอดคล้องระหว่างระบบย่อย ต่าง ๆ จึงต้องบูรณาการเข้าหากัน 4) การรักษาแบบแผน (Latency หรือ Pattern maintenance) คือ การธำรงและฟื้นฟู แรงจูงใจของปัจเจกชนและแบบแผนของสังคม ในการที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกันนั้นจำเป็น ที่จะต้องมีแรงจูงใจร่วมกัน ถ้ามีคนบางกลุ่มเกิดความรู้สึกท้อแท้หรือเห็นแตกต่างจนไม่อาจขับเคลื่อน ไปข้างหน้าร่วมกันได้ ก็เป็นหน้าที่ของระบบสังคมที่จะต้องฟื้นฟูขึ้นมา เพื่อให้กลับเข้ามาและยึดถือ เป้าหมายหลักร่วมกันใหม่ให้ได้ นอกจากฟื้นฟูปัจเจกบุคคลแล้วแบบแผนของสังคมก็จะต้องถูก ธำรงไว้ด้วย คือลักษณะของสังคมที่ไม่เปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนหรือเป็นแบบแผน แบบอนุรักษ์นิยม จากหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ทัลคอตต์ พาร์สันส์ เสนอว่า สังคมต้องมีระบบปฏิบัติการ 4 ระบบซึ่งเกี่ยวข้องกัน ซึ่งหน้าที่พื้นฐานกับระบบปฏิบัติการเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นควบคู่กันไป ได้แก่ 1) ระบบร่างกายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ พื้นฐานเรื่องการปรับตัว เพื่อรองรับหน้าที่พื้นฐานเรื่องการปรับตัว สังคมจะมีระบบปฏิบัติการย่อย ที่เป็นระบบว่าด้วยร่างกายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ระบบปฏิบัติการนี้รวมถึงเรื่องของการ ผลิตเชิงเศรษฐกิจด้วย เพราะเป็นปฏิบัติการในเรื่องสภาพแวดล้อมทางวัตถุ (กายภาพ) 2) ระบบบุคลิกภาพ เป็นระบบที่ควบคู่กับหน้าที่พื้นฐานในการบรรลุเป้าหมาย (Goal attainment) ระบบปฏิบัติการก็จะต้องเน้นเรื่องบุคลิกภาพ คนที่เป็นสมาชิกของสังคมจะต้องถูก หล่อหลอมขัดเกลาให้มีบุคลิกภาพที่คิดไปในทำนองเดียวกัน มองไปที่เป้าหมายเดียวกัน คนก็จะต้อง เชื่อในอุดมการณ์แบบเดียวกันจึงจะทำให้บรรลุเป้าหมายและรองรับการทำหน้าที่พื้นฐานได้ 3) ระบบสังคม เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่พื้นฐานในด้านบูรณาการ (Integration) สิ่งที่เข้า มาทำให้เกิดการบูรณาการ คือ ตัวสังคม ระบบสังคมจะเป็นระบบที่หลอมองค์ประกอบต่าง ๆ ของ ระบบย่อยเข้าด้วยกัน พื้นฐานในเรื่องบูรณาการจึงเกี่ยวข้องกับหน้าที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3