การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
41 4) ระบบวัฒนธรรม เกี่ยวข้องกับหน้าที่พื้นฐานในการธำรงแบบแผนของสังคม การธำรง แบบแผน การฟื้นฟูจิตใจและแรงจูงใจของคนเอาไว้ได้จะต้องมีสิ่งเชื่อมโยง สิ่งนั้นคือระบบวัฒนธรรม เป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับระบบย่อย คือ ระบบที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากระบบปฏิบัติการ เป็นระบบที่ทำหน้าที่ ชัดเจนในสังคม แบ่งเป็น 4 ระบบย่อย แต่ละระบบจะสัมพันธ์กับหน้าที่พื้นฐานแต่ละด้าน คือ ทำหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการในระบบปฏิบัติการ 4 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบเศรษฐกิจ (Economic) พื้นฐานสังคมอยู่ที่วัตถุ การผลิต ระบบนี้แสดงให้เห็นหน้าที่ พื้นฐานการปรับตัวเป็นระบบปฏิบัติการของกายภาพเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 2) เมื่อมีระบบเศรษฐกิจและมนุษย์สามารถปรับตัว สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ได้แล้ว ก็เข้าสู่ระบบการเมือง (Political) มีขึ้นมาเพื่อจะทำให้เกิดการทำหน้าที่เริ่มต้นด้วยการ มีเป้าหมายหลักร่วมกันและไปให้ถึงเป้าหมายหลักด้วยกัน 3) ตามมาด้วยระบบสังคมและชุมชน (Societal/Community) ซึ่งจะเป็นสังคมหรือชุมชน ไม่ได้ถ้าไม่มีการผลิต แต่ถ้ามีการผลิตแต่ไม่มีเป้าหมายของการอยู่ร่วมกันก็ไม่ได้ จึงต้องมีการบริหาร จัดการในรูปของระบบการเมือง 4) ระบบคุ้มครองหรือธำรงวัฒนธรรม คือระบบที่จะช่วยทำให้เกิดหน้าที่พื้นฐานในด้านการ รักษาแบบแผน โดยใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ และเรียกระบบย่อยนี้ว่า Fiduciary คือ ระบบอาศัย การมอบหมายหรือความไว้วางใจมาช่วยคุ้มครองและธำรงวัฒนธรรม ต้องปกป้องรักษาเอาไว้ให้มีการ สืบทอดวัฒนธรรม การมอบหมายนี้จะต้องมีการรับรองในแง่กฎหมาย จากทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม ทำให้เห็นได้ว่า ในสังคมหนึ่ง ๆ จะมีโครงสร้างบางอย่าง ซ่อนอยู่ แต่ละสังคมจะมีโครงสร้างคล้ายกัน โดยแสดงให้เห็นหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ เป็นระบบ เชื่อมโยงกัน ตามแนวคิดของ เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ มองว่า สังคม คือส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกัน เป็นมวลรวมซึ่งมีวิวัฒนาการและการประสานกัน การรวมตัวกันทำให้เกิดความสลับซับซ้อนภายใน โครงสร้าง กลายเป็นสถาบันสังคมต่าง ๆ ที่เกิดจากความจำเป็นของสถานการณ์เกี่ยวกับหน้าที่และ โครงสร้างในสังคม การที่ส่วนต่าง ๆ ของสังคมร่วมมือกันหรือสัมพันธ์กัน เกิดเป็นความสัมพันธ์ ทางสังคม สิ่งที่น่าสนใจคือสำนึกหรือความรู้สึกทางสังคมร่วมกัน แต่ละสังคมอาจไม่ได้อยู่ในระดับ ที่เท่ากัน ส่วนต่าง ๆ ของสังคมจะทำหน้าที่ของตน และสังคมจะดำเนินไปได้ การทำความเข้าใจว่า องค์กรเกิดขึ้นและพัฒนามาได้อย่างไร จะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้น ซึ่งสังคมมีการ เปลี่ยนแปลงแบบวิวัฒนาการมาโดยตลอด ทำให้สังคมจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีหน้าที่และโครงสร้าง ซับซ้อนขึ้น ถ้าไม่เปลี่ยนโครงสร้าง สังคมก็จะไม่อยู่รอดจึงจะต้องมีการแบ่งแยกโครงสร้างและหน้าที่ ส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน อย่างไรก็ตามสังคมหรือรัฐควรควบคุมมนุษย์ให้น้อยที่สุด ยกเว้นเรื่อง การคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและการร่วมกันป้องกันศัตรูจากภายนอกเท่านั้น ตามแนวคิดของทัลคอตต์ พาร์สันส์ ได้กล่าวถึง “ระบบสังคม” และ “หน้าที่” ว่า หน้าที่คือ กลุ่มของกิจกรรมที่ดำเนินไปเพื่อสนองความต้องการของระบบสังคม มีการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ๆ การทำความเข้าใจระบบสังคม จะต้องพิจารณาจากหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ประกอบด้วย การปรับตัว การบรรลุเป้าหมาย การบูรณาการ และการรักษาแบบแผน จากหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ทัลคอตต์ พาร์สันส์ เสนอว่า สังคมต้องมีระบบปฏิบัติการ 4 ระบบซึ่งเกี่ยวข้องกัน ซึ่งหน้าที่พื้นฐานกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3