การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

42 ระบบปฏิบัติการเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นควบคู่กันไป ได้แก่ ระบบร่างกายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ระบบบุคลิกภาพ ระบบสังคม และระบบวัฒนธรรม โดยมีระบบย่อยเป็นระบบที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น จากระบบปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ระบบย่อย แต่ละระบบสัมพันธ์กับหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ และ ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง ระบบสังคมและชุมชน และระบบคุ้มครอง หรือธำรงวัฒนธรรม ซึ่งการที่สังคมมีความเปลี่ยนแปลงไปเกิดจากระบบย่อยของสังคมที่มีลักษณะ แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น และจะต้องมีการบูรณาการกันทำให้สังคม เปลี่ยนแปลงและมีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ (Decentralization) การกระจายอำนาจเป็นสัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตยเกือบทุกประเทศในโลก ที่อยู่ในสังคมประชาธิปไตยจึงต้องมีการกระจายอำนาจ มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผู้ใช้อำนาจในการ ปกครองจะพิจารณา แต่ส่วนใหญ่ของประเทศในระบอบประชาธิปไตย จะมีวิธีการกระจายอำนาจ ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในรูปแบบเทศบาล (Municipality system) มากที่สุด การกระจาย อำนาจการปกครองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองนั้น เป็นกา รยืนยันอำนาจอธิปไตย ของประชาชน นอกจากนั้นยังเป็นการยอมรับว่าไม่มีใครทราบปัญหาของท้องถิ่นดีเท่ากับประชาชน ในท้องถิ่นนั้น หลักการสำคัญที่รัฐบาลของทุกประเทศต้องตระหนักและยอมรับว่าแต่ละท้องถิ่น ในประเทศของตนจะมีความแตกต่างในเรื่องสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อที่จะได้วิเคราะห์หรือบริหารจัดการในเรื่องการกระจายอำนาจที่เหมาะสมสำหรับ ประเทศของตน ประเทศไทยได้จัดให้มีการกระจายอำนาจเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่มีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นไปในลักษณะเชื่องช้า เนื่องจากผู้มีอำนาจปกครองประเทศมีแนวคิด ในลักษณะรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากกว่า ในอดีตที่ผ่านมาจึงอยู่ในลักษณะแบ่งอำนาจ (Deconcentration) มากกว่าการการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งเป็นผลกระทบต่อ ประชาชนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก (สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า, 2558) แนวคิดพื้นฐานที่เปรียบเสมือนกับกรอบความคิดใหญ่ในการจัดระบบการปกครองท้องถิ่น คือ แนวคิดว่าด้วย “การกระจายอำนาจ” (Decentralization) ซึ่งมีความหมายกว้าง ๆ คือ การจัดสรร/ แบ่งปันอำนาจการตัดสินใจ (วินิจฉัยสั่งการ) เกี่ยวกับกิจการสาธารณะ (Public affairs) ของรัฐบาล ส่วนกลางไปยังหน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ (วสันต์ เหลืองประภัสร์, 2559) (ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2563) สรุปคำอธิบายจากศาสตราจารย์ ชาร์ล กาดู ไว้ว่า เมื่อกล่าวถึง คำนิยามของการกระจายการรวมศูนย์อำนาจ (La déconcentration) นั้น อำนาจที่มีการรวมศูนย์ไว้ ที่ส่วนกลาง คือ อำนาจที่ถูกรวบไว้ในมือของรัฐบาล การกระจายการรวมศูนย์อำนาจก็คือการลดหรือ การผ่อนคลายการรวมศูนย์อำนาจ โดยวิธีการมอบอำนาจในการตัดสินใจที่เป็นของรัฐบาลใน ส่วนกลางไปยังเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งรัฐบาลส่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของ ดินแดน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเหล่านี้ ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติ ตามกฎหมายและคำสั่งของรัฐบาลในเขตพื้นที่ที่ตนดูแลรับผิดชอบและได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาล ให้ตัดสินใจสั่งการแทนรัฐบาลและในนามรัฐบาลได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3