การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

44 ความยากลำบากในการนำหลักการดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติ ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำหลัก ทั้งสองมาใช้ผสมผสานกัน โดยหวังว่าจะมี “การลดความแออัด” ของอำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง โดยผสมผสานระหว่างประสิทธิภาพทางปกครองกับเสรีนิยมทางการเมืองโดยไม่คุกคามต่อความเป็น รัฐเดี่ยวแต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้บรรลุความสมดุลได้อย่างพอเหมาะ อย่างไรก็ตาม การกระจายการรวมศูนย์อำนาจอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพ ทางปกครองลดน้อยถอยลงไปได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งได้รับการกระจายการรวมศูนย์อำนาจ ไม่รู้จักขอบเขตและข้อจำกัดของความรับผิดชอบของตน และการกระจายอำนาจก็อาจก่อให้เกิด ความด้อยประสิทธิภาพทางปกครองหรือการบิดเบือนอำนาจได้เช่นกัน ถ้าเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น ขาดความรู้ความสามารถหรือไม่สุจริต การกระจายอำนาจอาจนำไปสู่การสร้าง “อาณาจักร” โดยชนชั้นนำในท้องถิ่นซึ่งใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะรักษาอำนาจทางการเมืองของตนไว้ แนวโน้ม ในปัจจุบันจึงนิยมการกระจายการรวมศูนย์อำนาจมากกว่าการกระจายอำนาจ ทั้งนี้ เป็นเพราะ การบริหารราชการในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคเพิ่มมากขึ้นซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมักไม่ค่อย มีความรู้ทางเทคนิคดังกล่าว การกระจายอำนาจไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องของการกระจายอำนาจทางกฎหมายและการบริหาร ซึ่ง (วุฒิสาร ตันไชย, 2557) อธิบายว่า ยังมีมิติของอำนาจและธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นทางการ ตามกฎหมายและไม่เป็นทางการ รวมไปถึงเกี่ยวข้องกับตัวแสดงและปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ หรือ อยู่นอกเหนือจากสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ โดยตัวแสดงและปฏิสัมพันธ์เหล่านี้จะเข้ามามี บทบาทผ่านช่องทางหรือกลไกที่เป็นทางการของการกระจายอำนาจแต่เมื่อพิจารณาถึงพัฒนาการของ แนวคิดการกระจายอำนาจยังมีความหลากหลายของประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การแก้ไขปัญหา สายการบังคับบัญชาที่ใหญ่โต ผูกขาด และรวมศูนย์การกระจายอำนาจทางการเมือง การอาศัย กลไกตลาด การพัฒนาประชาธิปไตย การช่วยเหลือคนยากไร้และชายขอบ การเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของรัฐบาล ท้องถิ่น ฯลฯ รวมไปถึงกลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดการกระจายอำนาจก็มีทั้งฝ่าย ที่รับแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่ต้องการลดการผูกขาดอำนาจรัฐและพัฒนากลไกตลาด ฝ่ายที่คัดค้าน การพัฒนาแบบรวมศูนย์ที่เน้นแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาและสร้างการพัฒนา แบบร่วมมือ และฝ่ายที่สนับสนุนการแข่งขันทางการเมืองแบบพหุนิยมที่เน้นการสร้างพัฒนา ประชาธิปไตยเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผลประโยชน์ ที่หลากหลายเข้ามาในพื้นที่ทางการเมือง ขอบข่ายหรือรูปแบบของการกระจายอำนาจนั้น (วสันต์ เหลืองประภัสร์, 2559) อธิบายว่า มี 5 ลักษณะ ดังนี้ 1) การกระจายอำนาจโดยจำเป็นหรือโดยปริยาย (Decentralization by default) เกิดจาก สถาบันหรือองค์กรของรัฐบาลเกิดความล้มเหลวในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถ เข้าไปใช้อำนาจหรือมีอิทธิพลได้ และประชาชนระดับรากหญ้าเกิดความไม่เชื่อใจรัฐบาล จึงเป็นผลให้ ภาคประชาชนตื่นตัวและเข้มแข็ง เช่น สมาคมต่าง ๆ องค์กรอาสาสมัคร องค์กรพัฒนาเอกชน ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อชุมชนของตนด้วยตัวเองโดยรัฐบาลเองมิได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น 2) การแปรรูปกิจการของภาครัฐ (Privatization) ได้แก่ การยกโอน (Handover) กิจการ บางอย่างที่เคยจัดทำโดยหน่วยงานของรัฐไปให้ภาคเอกชนเป็นผู้จัดทำแทน เช่น กิจการขนส่งมวลชน กิจการโทรคมนาคม การไฟฟ้าและการประปา เป็นต้น การกระจายอำนาจรูปแบบนี้เกิดจากแรงผลัก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3