การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

45 ของความคิดที่ว่า กิจการบางอย่างนั้น เอกชนสามารถจัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถ ให้บริการต่อสังคมโดยรวมได้ดีกว่าการจัดทำโดยภาครัฐ 3) การกระจายอำนาจภายใต้หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) เป็นการแบ่งอำนาจ ของรัฐบาลกลางไปยังองค์กรในระดับรองที่ออกไปทำงานในพื้นที่นอกศูนย์กลางหรือท้องถิ่น โดยที่ องค์กรภายใต้หลักการแบ่งอำนาจนี้จะมีอิสระตามสมควรในการตัดสินใจต่าง ๆ ภายในพื้นที่ที่ตนดูแล แต่อำนาจการตัดสินใจและกำหนดนโยบายต่าง ๆ ยังคงอยู่ที่ส่วนกลาง เพราะตัวองค์กรและบุคลากร ยังคงถือว่าเป็นคนของส่วนกลาง มักเกิดขึ้นภายในระบบราชการโดยการแบ่งภารกิจและอำนาจหน้าที่ ออกไป หรืออาจเรียกว่า “การกระจายอำนาจทางการบริหาร” (Administrative decentralization) 4) การกระจายอำนาจภายใต้หลักการมอบอำนาจ (Delegation) มีการให้อิสระสูงกว่า การแบ่งอำนาจ เน้นในเชิง “ภารกิจหน้าที่” มากกว่า “พื้นที่” การมอบอำนาจเป็นการกระจาย อำนาจที่รัฐส่วนกลางอาจมอบอำนาจให้กับองค์ก รปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรกึ่งอิสระ องค์กรมหาชน หรือองค์กรที่จัดทำโครงการเฉพาะกิจต่าง ๆ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยมีการกำหนด ภารกิจเฉพาะที่ชัดเจน สามารถตัดสินใจและใช้อำนาจหน้าที่ภายในขอบเขตของตนได้อย่างอิสระ แต่รัฐส่วนกลางยังคงมีอำนาจอยู่เหนือองค์กรเหล่านี้ 5) การกระจายอำนาจภายใต้หลักการโอนอำนาจ (Devolution) ถือได้ว่าเป็นการกระจาย อำนาจที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับของการกระจายอำนาจที่กว้างขวางมากที่สุด จะถูกใช้เพื่ออธิบาย ถึงสภาวะที่รัฐส่วนกลางมีการถ่ายโอนหรือยกอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ไปยังองค์กรตัวแทน ของพื้นที่ ชุมชน หรือท้องถิ่น ซึ่งจะมีตัวแทนที่ประชาชนภายในพื้นที่นั้น ๆ เลือกเข้ามาเพื่อทำหน้าที่ ตัดสินใจและกำหนดนโยบายต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง รวมถึงอำนาจในการตรากฎหมายและออกระเบียบ ต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ภายในพื้นที่หรือชุมชนของตนได้อย่างอิสระ โดยที่ส่วนกลางจะไม่เข้ามามีบทบาท หรือแทรกแซงการทำงานขององค์กรภายใต้หลักการโอนอำนาจ จึงอาจมีการเรียกการกระจายอำนาจ ลักษณะนี้ว่า “การกระจายอำนาจที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย” ( Political or democratic decentralization) มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับที่หนึ่ง การโอนอำนาจในทางการปกครอง (Administrative devolution) สอดคล้องกับ การจัดรูปการปกครองท้องถิ่นตามหลัก “การปกครองตนเอง” (Local-self government) เป็น หลักการที่เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นของตนเอง โดยตนเอง และเพื่อตนเอง โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอิสระในการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ และสามารถทำกิจการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความจำเป็นภายในชุมชนของตน อีกทั้ง ยังมีความเป็นอิสระทางการคลังและบุคลากร ระดับที่สอง การโอนอำนาจในทางนิติบัญญัติ (Legislative devolution) ถือว่าเป็นรูปแบบ ของการกระจายอำนาจขั้นสูงสุดภายใต้รูปแบบการปกครองในระบบรัฐเดี่ยว (Unitary system) มีลักษณะใกล้เคียงกับระบบสหพันธรัฐ (Federal system) เป็นการถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลาง ไปยังพื้นที่หรือท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจสามารถที่จะกำหนด ชะตากรรมในทางการเมืองได้ด้วยตนเอง (Home rule) ผ่านการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองในรูปแบบ “สภา” (Assembly) ที่เป็นของตนเอง เพื่อทำหน้าที่ออกกฎหมายและกำหนดนโยบายต่าง ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3