การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
46 เพื่อบังคับใช้ภายในพื้นที่ของตน แต่สภาที่ได้รับการโอนอำนาจยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขอ งรัฐ และ ไม่มีสิทธิในการใช้อำนาจอธิปไตยร่วมกับรัฐบาลกลาง เหมือนในระบบสหพันธรัฐ จากรูปแบบการกระจายอำนาจทั้ง 5 ลักษณะนั้น การกระจายอำนาจรูปแบบแรกหรือ การกระจายอำนาจโดยจำเป็น/โดยปริยายนั้น เป็นการเกิดขึ้นเองในภาคประชาชนมิใช่ผลจากการ ดำเนินการจัดสรรหรือแบ่งปันอำนาจจากรัฐบาลส่วนกลาง ขณะที่การกระจายอำนาจในลักษณะของ การแปรรูปกิจการภาครัฐนั้น ท้ายที่สุดแล้วมิได้นำไปสู่สภาวะของการกระจายอำนาจที่เป็นจริง เพราะ จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ การดำเนินการแปรรูปเป็นเพียงการโยกย้ายอำนาจและ ทรัพยากร ซึ่งรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางอยู่เดิมไปสู่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ซึ่งก็มีลักษณะรวมศูนย์ เช่นกัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากหลักการกระจายอำนาจ แต่เนื่องจาก การกระจายอำนาจมีหลายระดับ ในระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศหนึ่ง ๆ ย่อมมีอำนาจและ ความเป็นอิสระมากน้อยแตกต่างกันไป อีกทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นมักมีลักษณะ การผสมผสานแนวคิดการกระจายอำนาจที่ต่างรูปแบบกัน ข้อดีของการกระจายอำนาจ มี 4 ประการ ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วม (Participation) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐบาลในระดับท้องถิ่นหรือในระดับ ภูมิภาค ย่อมเอื้อต่อประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองได้มากกว่า เป็นการเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชุมชนของตน และการเข้ามาบริหารกิจการ สาธารณะต่าง ๆ ภายในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลให้ประชาชนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ ในทางการเมืองการปกครองตามหลักการปกครองตนเอง และนำไปสู่การเติบโตของ “ความเป็น พลเมือง” ในหมู่ประชาชน 2) การตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของชุมชน (Responsiveness) เนื่องจาก สถาบันทางการเมืองการปกครองนอกศูนย์กลาง ย่อมมีความใกล้ชิดและไวต่อการรับรู้ถึง ความต้องการภายในชุมชนของตน เป็นการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับหลักความรับผิดชอบตาม ระบอบประชาธิปไตย (Democratic accountability) และเป็นการสร้างหลักประกันว่าการทำงาน ของภาครัฐโดยรวมนั้นมิเพียงแต่เป็นไปเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเท่านั้น หากแต่ความต้องการเฉพาะของชุมชนแห่งหนึ่งก็จะได้รับการสนองตอบด้วย 3) ความชอบธรรม (Legitimacy) ความห่างไกลทางภูมิศาสตร์และทางการเมือง ย่อมทำให้การ ตัดสินใจโดยสถาบันทางการเมืองห่างไกลออกไปจากชุมชนท้องถิ่น อาจทำให้ไม่ ได้รับการยอมรับ ในทางตรงกันข้ามการตัดสินใจกระทำในระดับชุมชนท้องถิ่น มีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับและ เป็นการสมเหตุสมผลมากกว่า ทำให้การตัดสินใจในทางการเมืองการปกครองมีความชอบธรรม 4) เสรีภาพ (Liberty) หากอำนาจทางเมืองการปกครองถูกรวบอยู่ที่ศูนย์กลางมากเกินไป ก็เป็นไปได้ที่จะเกิดการใช้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล และสร้างความเสียหายให้กับ สังคมโดยรวมได้ง่าย การกระจายอำนาจจะนำไปสู่การสร้างโครงข่ายของการตรวจสอบและถ่วงดุล อำนาจซึ่งกันและกัน (Checks and balances) ระหว่างศูนย์กลางกับพื้นที่นอกศูนย์กลาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3