การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

47 ข้อเสียของการกระจายอำนาจ มี 4 ประการ ดังนี้ 1) ด้านการเมือง การกระจายอำนาจอาจนำไปสู่ภาวะของความไร้เอกภาพและเสถียรภาพ ทางการเมืองได้ 2) ด้านการคลัง เมื่อสัดส่วนทางการคลังในภาคสาธารณะส่วนใหญ่อยู่ในระดับท้องถิ่น ก็เป็นการยากที่รัฐบาลกลางจะกำหนดทิศทางและควบคุมระบบการคลังของประเทศโดยรวมได้ และ หากการใช้จ่ายของท้องถิ่นต่าง ๆ ปราศจากวินัยในทางการคลัง เช่น การใช้จ่ายอย่างเกินตัว ขณะที่ ความสามารถในการจัดเก็บรายได้มีต่ำ ก็จะสร้างปัญหาและเกิดภาวะความไร้เสถียรภาพต่อระบบ การคลังของประเทศเป็นอย่างมาก 3) ด้านความเสมอภาค การกระจายอำนาจยิ่งมากเท่าไหร่ จะนำไปสู่ความแตกต่างและ ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างพื้นที่หรือท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ง่าย ทั้งในทางเศรษฐกิจ การคลัง คุณภาพชีวิต การบริการสาธารณะ เป็นต้น เนื่องจากอำนาจในทางการเมืองและการจัดทำบริการสาธารณะ ตลอดจนทรัพยากรทางการบริหารขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นแต่ละแห่ง ความแตกต่างและ ไม่เท่าเทียมกันระหว่างท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น 4) ด้านปัญหาการใช้ทรัพยากร เมื่อแต่ละชุมชนต่างก็มีความเป็นอิสระในกรอบของตน การใช้ทรัพยากรภายในประเทศอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ เพราะพื้นที่แต่ละแห่ง ต่างก็ใช้ทรัพยากรไปตามความต้องการและความจำเป็นของตนอันจะนำไปสู่สภาวะต่างคนต่างทำ ทรัพยากรจึงถูกใช้อย่างกระจัดกระจายและไร้ทิศทาง 2.3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารปกครองท้องถิ่น (Local governance) การบริหารปกครองท้องถิ่น คือ กระบวนการหรือกิจกรรมของการบริหารปกครอง ท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวข้องกับสถาบันที่เป็นทางการของรัฐและตัวแสดงที่ไม่เป็นทางการ เข้ามามีบทบาทหรือ เกี่ยวพันกับการบริหารหรือประเด็นปัญหาที่สลับซับซ้อน โดยการบริหารปกครองจะเน้นเรื่อง ความร่วมมือ การประนีประนอม และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายมากกว่า การออกคำสั่งและหลักปฏิบัติที่ตายตัวของสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการ การทำความเข้าใจแนวคิดการบริหารปกครองท้องถิ่นต้องพิจารณาถึงความแตกต่าง ของการปกครองและการบริหารปกครองเนื่องจากการปกครองเป็นการกระทำที่เป็นทางการและริเริ่ม โดยฝ่ายรัฐ มีการทำกิจกรรมที่แน่นอน มีตัวแสดงหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จำกัด และมีความชัดเจน ของโครงสร้างการปกครอง ความสัมพันธ์กิจกรรม และตัวแสดงภายใต้อาณาเขตที่แน่นอน ในขณะที่ การบริหารปกครองจะเกี่ยวพันกับตัวแสดงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย มีการกระทำทั้งที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีความสับสนและคลุมเครือของการจัดการปกครองอยู่สูงทั้งในเชิง ตัวแสดง อำนาจหน้าที่ กิจกรรม และความสัมพันธ์โดยอาณาเขตลดความสำคัญลง และ ให้ความสำคัญต่อประเด็น ปัญหาเฉพาะแทน ซึ่งการบริหารปกครองท้องถิ่นเป็นรูปแบบที่เริ่มเข้ามา แทนที่การปกครองท้องถิ่น แบบดั้งเดิมที่ตายตัว ซึ่งความท้าทายของปัญหาที่ท้องถิ่นเผชิญ ในปัจจุบันแนวทางการบริหารปกครอง เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น แม้ว่าภาพรวมแนวคิด การบริหารปกครอง จะให้น้ำหนักด้านการบริหารปกครองต่อสาธารณะเป็นหลัก แต่ไม่ได้ปราศจาก แง่มุมทางการเมือง เนื่องจากการเกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเน้นความร่วมมือและ การประนีประนอมย่อมต้องอาศัยช่องทางและกระบวนการทางการเมืองของท้องถิ่น เงื่อนไขการมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3