การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

48 ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local democracy) จึงมีความสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมการบริหาร ปกครองที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย (วุฒิสาร ตันไชย, 2557) การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นหลักการที่สอดคล้องกับรูปแบบ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้ปกครองมีโอกาสปกครองตนเอง ให้มากที่สุด รูปแบบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้นภายใต้หลักคิดในเรื่องของการกระจายอำนาจ ทางพื้นที่ซึ่งปัจจุบันมี 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา (สุวิทย์ ปัญญาวงศ์, 2563) 1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกับรัฐธรรมนูญ ในประเด็นเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและการพ้นจากตำแหน่ง ของประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกและรองนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด การยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งอำนาจหน้าที่บางประการขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแก้ไขกฎหมายอีกครั้งเพื่อกำหนดให้นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เทศบาล การจัดตั้งเทศบาลไม่ได้จัดตั้งขึ้นทั่วทั้งประเทศ แต่จัดตั้งขึ้นเป็นแห่ง ๆ ไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 โดยเมื่อรัฐพิจารณาเห็นควร ที่จะยกฐานะท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาล ก็ตราพระราชกฤษฎีกายกฐานะท้องถิ่นนั้นเป็นเทศบาล เป็นแห่ง ๆ ไป เทศบาลมีฐานะเป็นทบวงการเมืองและเป็นนิติบุคคลดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ปัจจุบันพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไข เพิ่มเติมได้บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ถึงมาตรา 11 ให้เทศบาลมี 3 ประเภท คือ - เทศบาลตำบล มาตรา 9 แห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาลกำหนดไว้ว่าได้แก่ท้องถิ่น ซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล กฎหมายมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ ไว้โดยเฉพาะว่าการเป็นเทศบาลตำบลจะต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้างแต่ในทางปฏิบัติกระทรวงมหาดไทย ได้วางหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเทศบาลตำบลเอาไว้และนอกจากนี้เทศบาลตำบลจำนวนหนึ่งยังมีที่มา จากการที่เมื่อพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลและกำหนดให้บรรดาสุขาภิบาลที่มีอยู่มีฐานะเป็นเทศบาลตำบล - เทศบาลเมือง การจัดตั้งเทศบาลจะต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะต้องระบุชื่อและเขตของเทศบาล โครงสร้างของเทศบาล ประกอบด้วยสภาเทศบาลและ นายกเทศมนตรี ซึ่งมาตรา 40 แห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาลกำหนดให้เทศบาลเมืองมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด และท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป และมีรายได้พอควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล การจัดตั้งเทศบาล เมืองต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3