การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

49 - เทศบาลนคร มาตรา 11 แห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาลกำหนดไว้ว่าเทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป และมีรายได้พอควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล 3) องค์การบริหารส่วนตำบล จัดได้ว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด และอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด องค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์กรบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งองค์การ บริหารส่วนตำบลไว้ในมาตรา 40 ว่า สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ ที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของสภาตำบล ที่ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ การจัดตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลให้ทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะต้องระบุชื่อ และเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในประกาศด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 4) กรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยมี การแบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครออกเป็นเขตและแขวง กรุงเทพมีฐานะเป็นจังหวัด เขตมีฐานะเป็นอำเภอ แขวงมีฐานะเป็นตำบล การบริหารกรุงเทพมหานครประกอบด้วย สภากรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับ การเลือกตั้งโดยตรงมาจากประชาชนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง 5) เมืองพัทยา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 เมืองพัทยาจัดเป็นนิติบุคคลประกอบด้วยสภาเมืองพัทยา มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่ วันเลือกตั้ง และนายกเมืองพัทยา ได้รับการเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกัน เกิน 2 วาระไม่ได้ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 48 แห่งกฎหมายว่าด้วยการบริหาร ราชการเมืองพัทยา คือ กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการเมืองพัทยาให้เป็นไป ตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ และนโยบาย สั่งอนุมัติและอนุญาตเกี่ยวกับราชการเมืองพัทยา และ วางระเบียบเพื่อให้งานของเมืองพัทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นต้น 2.3.2 แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local democracy) ในการพิจารณาถึงความสำเร็จหรือความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจและ การปกครองท้องถิ่นในสังคมใดสังคมหนึ่ง มักจะมีการพิจารณาจากความเป็น “ประชาธิปไตย ในท้องถิ่น” (Local democracy) ในสังคมนั้นๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด คำว่า “ประชาธิปไตย ในท้องถิ่น” หมายถึงการจัดการปกครองท้องถิ่นที่ยึดหลักการหรือแนวทางพื้นฐานของระบอบ ประชาธิปไตย และอาจหมายถึง การจัดการปกครองท้องถิ่นที่มุ่งให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ ที่สำคัญอย่างน้อย 4 ประการ (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2562) ได้แก่ 1) ลักษณะของโครงสร้างทางการเมืองและการบริหารที่มีลักษณะเปิด (Openness) เพื่อให้ประชาชนภายในท้องถิ่นมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม ผ่านการเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร หรือตรวจสอบการทำงานของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3