การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง การที่โครงสร้างทางการเมืองและการบริหารของท้องถิ่น มีลักษณะที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความโปร่งใส (Transparency) ทำให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแสดงความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อประชาชนมากขึ้น 2) ต้อง เป็นการปกครองท้องถิ่นที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน (Responsive) ซึ่งการปกครองท้องถิ่นที่มีความเป็นประชาธิปไตยต้องมีนโยบายหรือการปฏิบัติ ตามนโยบายที่ตรงกับปัญหาหรือความต้องการของประชาชน การจัดบริการสาธารณะต่าง ๆ ภายใน ท้องถิ่นต้องมีลักษณะที่ตรงกับปัญหาหรือใจของประชาชน หากประชาชนมีข้อเดือดร้อนหรือ ความต้องการต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาหรือ ความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างรวดเร็วไม่ชักช้า 3) การปกครองท้องถิ่นต้องมีความเป็นอิสระ (Autonomy) ซึ่งการปกครองท้องถิ่น ที่เป็นประชาธิปไตยต้องมีกลไกที่มีความเป็นอิสระจากการควบคุมของราชการส่วนกลางหรือรัฐบาล พอสมควร เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ได้เอง หากเป็นความต้องการของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งมีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะจัดทำบริการสาธารณะต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงรัฐบาลกลางในทุกเรื่อง รวมถึงความเป็นอิสระจากการ ครอบงำหรือแทรกแซงการบริหารหรือการปฏิบัติงาน 4 ) ก ารปก ครอ งท้อ งถิ่น ต้อ งมีคว าม เข้ม แข็ ง ใน แน วคิด เรื่อ งก าร เป็น ผู้แทน (Representativeness) ซึ่งประชาชนภายในท้องถิ่นจำเป็นต้องมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน ในการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในการจัดการปกครองท้องถิ่น หัวใจของการปกครองท้องถิ่น คือ การสร้างประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นให้เกิดขึ้น อาจเรียกประชาธิปไตยในรูปแบบนี้ว่า ประชาธิปไตยที่ประชาชนปกครองตนเอง (Self-government democracy) การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประชาชนได้ดูแลบ้านเมืองมากขึ้น จะเป็นรากฐานใหม่ สำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ โดยประชาธิปไตยไทยนั้น ควรแยกเป็นสองระดับ คือ ประชาธิปไตยที่ระดับชาติกับประชาธิปไตยที่ระดับท้องถิ่น โดยประชาธิปไตยที่ระดับชาตินั้น ควร เน้น ให้ประชาชนใช้อำนาจทางอ้อมผ่านผู้แทน ( Representative democracy) ต่อไป แต่ประชาธิปไตยที่ระดับท้องถิ่นนั้น ควรปรับปรุงให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลบริหาร บ้านเมืองด้วยตน เองให้มากขึ้น (Self-Government Democracy) ดังนั้นแล้วประชาธิปไตย ควรเริ่มต้นที่ท้องถิ่น และควรสร้างประชาธิปไตยที่ท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตยระดับชาติ (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2552) รูปแบบของประชาธิปไตยท้องถิ่นจะมีส่วนที่เป็นทั้งประชาธิปไตยตัวแทนและ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่จะเกื้อหนุนต่อการพัฒนาพลเมืองและชุมชน แม้ว่าในระดับท้องถิ่น จะให้น้ำหนักต่อ ประชาธิปไตยแบบตัวแทนน้อยกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาธิปไตย แบบตัวแทนจะไม่มีความสำคัญ ประชาธิปไตยแบบตัวแทนและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมนั้น เป็นหลักการและวิธีการทางการเมืองที่เกิดขึ้นผ่านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สถาบันการเมือง หลักปฏิบัติ และแบบแผนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แม้ว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทนจะมีลักษณะ ความเป็นสถาบันที่เป็นทางการและอิงกับกฎหมาย เช่น การเลือกตั้ง พรรคการเมือง ระบบสภา ฯลฯ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3