การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

51 แต่การเมืองของประชาธิปไตยแบบตัวแทนก็มีลักษณะไม่เป็นทางการอยู่สูงเช่น กลุ่มผู้อุปถัมภ์ ในพรรคการเมืองการซื้อเสียง ธรรมเนียมปฏิบัติของการประชุมสภา ฯลฯ ในขณะที่ประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วมจะมีทั้งสถาบัน หลักปฏิบัติและแบบแผนทั้งที่เป็นทางการ เช่น การจัดประชุมเมือง ช่องทางอุทธรณ์และการร้องเรียน การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และไม่เป็น ทางการ เช่น เครือข่ายของภาคประชาชน วิถีประชา กระบวนการต่อรองที่ไม่เป็น ทางการ ฯลฯ ซึ่งการมีการเมืองตามแบบประชาธิปไตยในท้องถิ่นยังเอื้อต่อการบริหารปกครอง ( Local governance) (วุฒิสาร ตันไชย, 2557) ข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการปกครองระดับชาติและการปกครองท้องถิ่น ของประเทศไทย ประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้บริหารและนักการเมืองจำนวนหนึ่งเปรียบภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสมือนเป็น “ส่วนย่อของการเมืองการปกครองระดับชาติ” เท่านั้น และ หากพิจารณาในมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์แล้ว อาจดูเหมือนว่านักเศรษฐศาสตร์เองก็ไม่ได้ มีตัวแบบใดแบบหนึ่งที่จะใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความต่างจากการพัฒนาระดับชาติ อีกทั้ง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็ไม่ได้มีแนวคิดในบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นของตน ให้ต่างจากการบริหารและการพัฒนาดังเช่น รัฐบาลส่วนกลาง และรัฐบาลส่วนภูมิภาคดำเนินการอยู่ ดังนั้น ประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นควรปรับให้เป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนเข้าไป ดูแลหรือบริหารกิจการบ้านเมืองโดยตรงมากขึ้น โดยพึ่งพานักการเมืองหรือข้าราชการประจำให้ น้อยลง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การปรับปรุงท้องถิ่น มิใช่ทำให้ท้องถิ่นเป็นประชาธิปไตยทางอ้อม ที่ดีขึ้นเท่านั้น หรือมิได้จำกัดแค่ทำให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสเท่านั้น แต่จุดมุ่งหมายคือมุ่งที่จะ ปรับปรุงท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตยระดับชาติ หากมองถึงปัญหาของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจากส่วนกลางว่า เป็นความไม่มั่นคง ของระบอบหรือจากการที่มีการฉีกรัฐธรรมนูญให้ได้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาเช่นนี้ต้องได้รับการแก้ไข จากท้องถิ่น โดยการเปลี่ยนให้ท้องถิ่นเป็นที่ฝึกความเป็นพลเมืองเพื่อให้คนเหล่านี้มีจิตสำนึกและ เกิดการเรียนรู้ทางการเมือง สอนให้ประชาชน รู้ปัญหาของท้องถิ่น รักและอยากแก้ปัญหาให้ท้องถิ่น เหล่านี้คือส่วนสำคัญที่จะสร้างให้พลเมืองเห็นความสำคัญของส่วนรวมเป็นเรื่องของตน และ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของประชาธิปไตย รวมถึงรู้รักเป็นเจ้าของ และมีความรับผิดชอบประเทศชาติ บ้านเมืองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าปัญหาและจุดอ่อนของประชาธิปไตยนั้นอยู่ที่ประชาชน ไม่รู้สึก เป็นเจ้าของบ้านเมือง และไม่รู้สึกว่าตนอาจเข้าดูแลบ้านเมืองได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประชาธิปไตยไทย เป็นประชาธิปไตยแบบอุปถัมภ์ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำจุนชาวบ้าน ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยของไทย จึงอยู่ในกรอบที่ว่า “ประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยผู้แทนหรือผู้นำเพื่อประโยชน์ของประชาชน นั่นเอง” (ธนิษฐา สุขะวัฒนะ, 2551) กระบวนการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น เป็นยุทธวิถีและเครื่องมือที่สำคัญ ที่ภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนํามาประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง สร้างความเข็มแข็ง ให้กับชุมชน รวมไปถึงการแก้ปัญหาในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และ มีประสิทธิภาพโดยจะต้องเชื่อมโยงกับการสร้างพลังให้กับชุมชนท้องถิ่นควบคู่ไปด้วย เพื่อจะทำให้ การกระจายอำนาจไม่ผูกยึดอยู่แค่การกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3