การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

52 เพียงหน่วยเดียว หากแต่ต้องทำให้องคาพยพต่าง ๆ สามารถเข้าถึงและสร้างจุดเชื่อมโยงการทำงาน ในระดับท้องถิ่นร่วมกันต่อไปได้อย่างมีทิศทาง และนั้นเองจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนจัดวางตำแหน่ง แห่งที่ของอำนาจในระดับท้องถิ่น ส่วนภูมิภาค และส่วนกลาง ในมิติของโครงสร้างรูปแบบ การกระจายอำนาจ (Structural function) ที่รัฐส่วนกลางได้ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ ภารกิจกับ งบประมาณ ผ่านมายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่มาจาก กระบวนการเลือกตั้งของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานด้าน ต่าง ๆ ระดับท้องถิ่น ตามโครงสร้างอำนาจและภารกิจ สำหรับในมิติการสร้างพื้นที่ ( Space and area) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ในการเข้ามาดำเนินการในลักษณะ เรียกว่า การบริหารจัดการท้องถิ่นประเด็นนี้เองส่งผลให้ขบวนการเคลื่อนไหวของขบวนองค์กร ชาวบ้าน ภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรเครือข่าย กลุ่มพลังต่าง ๆ ได้เชื่อมโยงประสาน ทำงานกับภาคส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงท้องที่ (กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน) เพื่อยกระดับ การทำงานและการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่น ได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น รูปธรรมที่สำคัญประการหนึ่งของการกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาสู่ท้องถิ่น คือ การกระจายการตัดสินใจผ่านกระบวนการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่ง ถือว่าเป็นรูปธรรมการใช้ อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง และมุ่งเน้นไปที่กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และ เครือข่ายองค์กรชาวบ้าน ความสำคัญของกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า การเรียนรู้ควบคู่กับ การปฏิบัติการ (Learning by doing) ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากกระบวนการตัดสินใจกระทำฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยลำพัง แต่เป็นกระบวนการที่เริ่มต้นตั้งแต่การเรียนรู้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา สร้างความเข้าใ จ จนมั่นใจว่าข้อบัญญัติท้องถิ่นจะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากร ได้อย่างยั่งยืน แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในอดีตที่ผ่านมา หรือใน พ.ศ. 2560) และ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่คุ้มครอง ดูแลและ บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บ้างในบางประเด็น) หากแต่ประเด็นที่ท้าทายภายใต้ กระบวนการกระจายอำนาจ คือการตีความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด ในเมื่อทรัพยากรแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ ที่ดิน แร่ และทรัพยากรทางทะเล ล้วนอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยงาน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตามพระราชบัญญัติในเรื่องนั้น ๆ อยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังมีประเด็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในก ารออกข้อบัญญั ติท้อ งถิ่นที่ เกี่ยวข้องกับก ารอนุรักษ์และ ใช้ประ โยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของตนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อข้อบัญญัติ ท้องถิ่นนั้นมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นที่ต้องการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรนั้นอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะไม่มีความชัดเจนของกฎหมาย หรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อกระจาย อำนาจการจัดการทรัพยากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน ก็ปรากฏให้เห็นถึง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นมีการทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรภาคประช าชน องค์กรชุมชน ได้ร่วมกันเขียนข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงปัญหา อื่น ๆ ของท้องถิ่นด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3