การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

53 หัวใจที่แท้จริงแล้วในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นรวมไปถึงกระบวนการพัฒนาอำนาจ ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นมาในช่วงเกือบ 10 ปีนั้น ตัวข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นเพียงผลพลอยได้ประการหนึ่ง เท่านั้นแต่ที่สำคัญกว่าคือกระบวนการของการเปลี่ยนความคิดและการเปลี่ยนแปลงตนเองของชุมชน ท้องถิ่น ที่เคยตกอยู่ในระบบการปกครองแบบรวมศูนย์ ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ภายใต้ความไม่รู้และ ความกลัว สิ่งเหล่านี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายใน และมีพลังภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุน โดยผลของการเปลี่ยนแปลงนี้หากยิ่งขยายไปสู่คนกลุ่มต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่นมากขึ้นเท่าไร ก็เท่ากับ เกิดการกระจายอำนาจมากขึ้นเท่านั้น และนั้นเองการสถาปนาอำนาจของท้องถิ่น จึงเป็นเสมือน กระบวนการปลดแอกทางความคิดที่ทำให้มั่นใจในสิทธิ มั่นใจในความรู้และข้อมูลที่ทุกฝ่ายต่าง ๆ ได้ ร่วมกันสืบค้น ศึกษา ปฏิบัติการ ในการแปรความคิดความจริง มาสู่ลายลักษณ์อักษรที่ยอมรับร่วมกัน (โอฬาร อ่องฬะ, 2564) 2.4 แนวคิดการแบ่งปันผลประโยชน์ (Benefit sharing) แนวคิดว่าด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ (Benefit sharing) เป็นแนวคิดทางกฎหมาย สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่นำมาใช้ประกอบกับแนวคิดประโยชน์ สาธารณะในกฎหมายมหาชนเพื่ออธิบายให้เห็นถึงความจำเป็นที่รัฐจะต้องจัดทำบริการสาธารณะ ขนาดใหญ่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงรักษาประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ขณะเดียวกันเป็นแนวคิด ที่จะคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเสมอภาคและมีส่วนร่วม แนวคิดทางกฎหมายดังกล่าว เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำผลประโยชน์จากประชาชนทุกคนในประเทศ ที่ได้ประโยชน์จากโครงการ นั้น ๆ มาจัดการผลประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ให้แก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ คำว่า “การแบ่งปันผลประโยชน์” นั้น โดยทั่วไปอาจพบได้ในความหมายในทาง เศรษฐศาสตร์ อันมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างเอกชนกับเอกชนที่เข้ามา ปฏิสัมพันธ์กัน โดยอาจตีความในความหมายของคำว่า “ประโยชน์” ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ ปัจเจกชน เพียงรายเดียว หรือหลายรายก็ได้ “ประโยชน์สาธารณะ” อาจเป็นคำที่มีความหมายกว้างกว่า หรือ บางครั้งอาจใช้คำว่า “ประโยชน์ส่วนรวม” ก็ได้ การแบ่งปันผลประโยชน์ จะเป็น เครื่องมือสำคัญ ที่อาจนำมาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ในสังคมได้ ซึ่งในเบื้องต้นนี้ องค์ประกอบสำคัญของแนวคิดเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ประกอบด้วย รัฐซึ่งหมายถึงฝ่ายปกครองเองหรือภาคเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ สาธารณะต่าง ๆ กับประชาชนส่วนใหญ่ ในสังคมที่ได้รับประโยชน์ และประชาชนส่วนน้อยที่ได้รับ ผลกระทบ โดยรัฐต้องเป็นตัวกลางในการประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนส่วนใหญ่ ในสังคม กับประชาชนส่วนน้อยที่ได้รับผลกระทบ โดยการดำเนินการใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้ ทั้งสองฝ่ายยินยอมและยอมรับ การจัดการผลประโยชน์หรือสิทธิบางประการของตนไปให้แก่ อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเสมอภาคกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม (ชาญวิทย์ ชัยกันย์, 2561) ในงานของ (ชาญวิทย์ ชัยกันย์, 2561) ยังได้ศึกษาแนวคิดการแบ่งปันผลประโยชน์ (Benefit sharing) กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย สหรัฐอเมริกา พบว่า การแบ่งปันผลประโยชน์ในสหรัฐอเมริกามีลักษณะเป็นข้อตกลงหรือสัญญา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3