การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

54 ร่วมกันระหว่างรัฐหรือภาคเอกชนที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่กับภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งแม้จะไม่มีผลบังคับ เช่นเดียวกับกฎหมาย แต่นับเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี โดยสะท้อน หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการ การตอบแทนประโยชน์ให้แก่ประ ชาชน ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่อมาการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ ของชุมชนนี้ได้แพร่หลายและปรับใช้ในหลายมลรัฐ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นและมีการกระทำระหว่างกันทางสังคมเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็เพื่อร่วมมือกันหาทางตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ซึ่งสมาชิก ของกลุ่มจะต้องมีการกระทำระหว่างกันในกลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม อาจก่อให้เกิดความร่วมมือหรือ ความขัดแย้งกันได้และก่อให้เกิดปรากฎการณ์ทางสังคมต่าง ๆ (อำไพ หมื่นสิทธิ์, 2553) ในทางสังคมวิทยา “กลุ่ม” หมายถึง กลุ่มคนที่มีการกระทำต่อกันหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน มีความรู้สึกผูกพันร่วมกัน จำนวนสมาชิก โครงสร้าง หรือความสัมพันธ์อาจแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะอื่น ของกลุ่ม ต้องบอกหรือพิสูจน์ได้โดยสมาชิกของกลุ่มเองและโดยคนอื่น ต้องมีโครงสร้างทางสังคม ส่วนสำคัญคือต้องมีความสัมพันธ์หรือมีการติดต่อระหว่างสมาชิก ทุก ๆ กลุ่มจะต้องมีบรรทัดฐาน การประพฤติปฏิบัติ สมาชิกของกลุ่มจะต้องมีความสนใจและมีค่านิยมบางอย่างร่วมกัน มีกิจกรรม ของกลุ่มเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน และมีระยะเวลาในการอยู่ร่วมกันการแยก ประเภทของกลุ่มเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและพิจารณาปรากฎการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับกลุ่ม ในสังคม ซึ่งนักสังคมวิทยามีเกณฑ์ในการแบ่งแตกต่างกันโดยอาจถือความสัมพันธ์ระหว่างคนในกลุ่ม เป็นเกณฑ์ (จุมพล หนิมพานิช, 2552) ดังนี้ กลุ่มปฐมภูมิ (Primary group) นักสังคมวิทยาที่ใช้คำว่า “กลุ่มปฐมภูมิ” เป็นคนแรกคือ ชาร์ลส์ ฮอร์ตัน คูลี่ ได้ให้คำจำกัดความว่า “เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิที่การติดต่อ ระหว่างกันเป็นการติดต่อสัมพันธ์กันแบบเผชิญหน้าเป็นประจำ ความสัมพันธ์แบบเป็นกันเอง และ เป็นการตอบโต้โดยถือตัวบุคคลเป็นใหญ่ กลุ่มเป็นรากฐานของแนวความคิดทางสังคมของบุคคล” เช่น กลุ่มครอบครัว (ผูกพันโดยเรือญาติ) กลุ่มเพื่อนบ้านหรือเพื่อนร่วมงาน (ผูกพันด้วยมิตรภาพ) มักเป็นกลุ่มที่ขนาดเล็กที่มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับสังคม เป็นผู้กำหนดแนวทางในการพัฒนา บุคลิกภาพของบุคคล หน้าที่ที่สำคัญคือการอบรมขัดเกลาให้รู้ระเบียบแบบแผนของสังคม ทำให้บุคคล รู้สึกว่าตนเองเป็นคนหนึ่งในกลุ่มเหมือนกันคนอื่น ทำให้บุคคลสามารถหาเอกลักษณ์ของตนเองได้ กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group) ความสัมพันธ์มีลักษณะเป็นแบบไม่คุ้นเคยกันเป็นส่วนตัว และไม่ลึกซึ้ง เป็นการติดต่อกันในลักษณะด้านใดด้านหนึ่งหรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คำนึงถึง ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า การพบปะระหว่างสมาชิกมีน้อยเป็นไปในลักษณะเป็นทางการ เห็นได้ ชัดเจนจากการทำงานในองค์กร ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ขนาดของกลุ่มทุติยภูมิมักจะมีขนาด ใหญ่ มีข้อดีคือทำให้เกิดความยุติธรรม เป็นระเบียบ เมื่อหมดหน้าที่การทำงานมีความเป็นอิสระต่อกัน ส่วนข้อเสียคือทำให้สมาชิกขาดความอบอุ่นทางจิตใจเมื่อทำงานผิดพลาด โดยกลุ่มทุติยภูมิ จะมีลักษณะของกลุ่มที่เป็นทางการมักจะมีองค์ประกอบของกลุ่ม คือ มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน อาจเป็น ผลประโยชน์ร่วมและ/หรือความคิดหรืออุดมการณ์ร่วม มีพลังร่วมกัน มีภาวการณ์นำ หรือมี ภ าวก ารณ์ เป็น ผู้น ำ มี กฎ ร ะ เบี ยบ ร่วม และมีทรัพ ย าก รบุคคล เงิน แล ะ วัสดุอุปก รณ์ (แสวง รัตนมงคลมาศ, 2540)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3