การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

55 คำว่า “กลุ่ม” (Groups) กับ “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest groups) มีลักษณะแตกต่างกัน โดยกลุ่มผลประโยชน์จะมีทัศนคติร่วมกัน มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กลุ่มผลประโยชน์” ไว้ดังนี้ (จุมพล หนิมพานิช, 2552) อธิบายว่า เป็นการมารวมตัวของบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ ทัศนคติ และผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งการที่บุคคลในกลุ่ม มีวัตถุประสงค์ ทัศนคติ และผลประโยชน์ที่คล้ายคลึงกันมีผลทำให้ความเป็นสมาชิกของกลุ่ม มีความแน่นแฟ้นและมั่นคงกว่าความสัมพันธ์ของสมาชิกของกลุ่มโดยทั่วไป (ชัยมงคล สุพรมอินทร์, 2554) อธิบายว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันขึ้นเป็นองค์กรแบบมั่นคง หรือแบบหลวม ๆ เพื่อมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม ตนเอง แต่มิได้มีเป้าหมายเพื่อจะเข้าไปมีตำแหน่งโดยตรงทางการเมืองเหมือนกับพรรคการเมือง บางครั้งอาจเรียกกลุ่มผลประโยชน์นี้ว่า กลุ่มกดดัน (Pressure group) ก็ได้ (บูฆอรี ยีหมะ, 2559) อธิบายว่า เป็นกลุ่มที่แสดงบทบาทและมีอิทธิพลในการเรียกร้อง เสนอแนะ กดดันให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย โครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ สอดคล้องหรือเอื้อประโยชน์ของสมาชิกกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทยหากแบ่งโดยยึดหลักจุดประสงค์หรือสาเหตุของการรวมกัน เป็นกลุ่ม อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท (สุขุม นวลสกุล, 2555) ดังนี้ 1. กลุ่มมาตุภูมิ เป็นการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามัคคี ในหมู่พรรคพวกเดียวกัน และเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่ม อาจเป็นการประกอบกิจกรรมการกุศลหรือ การบันเทิงรื่นเริง สมาชิกของกลุ่มจะมาจากที่เดียวกัน หรือเคยเรียนสถาบันเดียวกัน บทบาทของกลุ่ม มีลักษณะอยู่ในวงจำกัด ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับสาธารณะมากนัก การเกี่ยวข้องกับสาธารณะส่วนใหญ่ เป็นไปในรูปที่แสวงหาประโยชน์เพื่อพรรคพวกของตน หรือการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ 2. กลุ่มอาสาสมัคร เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ที่สมัครใจเพื่อส่งเสริมหรือกระทำกิจการใด กิจการหนึ่ง อาจเป็นการรวมกันแบบถารในรูปของสมาคม หรือเป็นการรวมกันแบบชั่วคราว เพื่อกระทำกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อกิจการนั้นลุล่วงไปสลายตัวไป 3. กลุ่มอาชีพ เป็นการรวมกันจากการประกอบธุรกิจ การค้าหรือรับจ้างทำงานประเภท เดียวกัน การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสมาคมจัดว่าเป็นการรวมกลุ่มกันแบบถาวร แต่การรวมกัน เป็นกลุ่มอาชีพอาจเป็นการรวมกันแบบชั่วคราวเพื่อเจราต่อรอง บทบาทของกลุ่มอาชีพส่งผลกระทบ ต่อสาธารณะอย่างมาก เพราะแต่ละกลุ่มอยู่ในฐานะของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ผลประโยชน์ของกลุ่ม ย่อมกระทบกระเทือนโดยตรงต่อประชาชนทั่วไปซึ่งอยู่ในฐานะผู้บริโภค กลุ่มอาชีพอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ค่อ กลุ่มนายจ้างหรือนายทุน ซึ่งมีความเข้มแข็งเพราะมีทุนมีอิทธิพลที่จะโน้มน้าว นโยบายสาธารณะและรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตน และกลุ่มลูกจ้าง รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ที่ขาดทุนทรัพย์และการดำรงชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำ ทำให้ผู้นำและสมาชิกมีโอกาสน้อยมากที่จะพัฒนา กลุ่มให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน กลุ่มผลประโยชน์มีความสำคัญมากต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะมีหน้าที่ ในการแสดงข้อคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ให้ทราบถึงปัญหาหรือประเด็นที่เกิดขึ้น แสดงความต้องการ ของกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอุดมการณ์ให้ ผู้ปกครองรับทราบ เชื่อมโยงผู้ปกครองกับสมาชิกของกลุ่ม ทำให้ผู้ปกครองรับทราบข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องของกลุ่มเพื่อประกอบการตัดสินใจ และทำหน้าที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3