การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

56 ควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ อย่างไรก็ตามปัญหา อุปสรรคที่สำคัญคือการขาดกลุ่มผลประโยชน์ที่รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ที่มีอิทธิพลเพียงพอ ต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ และควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้ไม่สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ได้ (สยาม ดำปรีดา, 2551) 2.5 แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายความว่า ส่วนได้ ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วม ในการลงทุนบริษัท การมีส่วนร่วม (อรทัย หนูสงค์, 2560) อธิบายว่าคือการที่บุคคลต่าง ๆ ในชุมชนเข้ามา มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนของการพัฒนาชุมชนด้วยความสมัครใจ ตั้งแต่เข้ามาศึกษาปัญหาและ วิเคราะห์ถึงสาเหตุและที่มาของปัญหา ร่วมกันวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเอง ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงออกในรูปของการสร้างความร่วมมือ ร่วมปฏิบัติงานใช้ความคิดสร้างสรรค์และความชำนาญของประชาชนร่วมกับวิทยากรที่เหมาะสม รวมถึงการเข้าร่วมดำเนินกิจกรรม ตลอดจนติดตามประเมินผล และรับผลประโยชน์ที่เกิดจากการ ดำเนินกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ต้องการซึ่งก่อให้เกิด ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ หรือแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation) ในการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และถือว่าเป็นหลักการหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนปรากฏในคำปรารภของ UNCHE Declartion ค.ศ. 1972 ซึ่งกล่าวว่า การบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม “ต้องอาศัยการยอมรับความรับผิดชอบของพลเมือง ชุมชน ผู้ประกอบการ และสถาบันต่างๆ ทุกระดับ” คำประกาศกรุงริโอ ค.ศ.1992 ข้อ 10 กำหนดไว้ อย่างชัดเจนว่า การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีส่วนร่วมในด้านต่าง ๆ 3 ด้าน (กอบกุล รายะนาคร, 2549) คือ 1) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงาน ของรัฐ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุและกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อชุมชนของตน 2) สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ รัฐจะเอื้ออำนวยและส่งเสริมความตื่นตัวและ การมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อมของสาธารณชน ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง 3) สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและทางบริหาร รวมทั้งการได้รับการชดเชย และ การเยียวยาความเสียหาย บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่คำประกาศกรุงริโอกล่าวถึงในเรื่องการมีส่วนร่วมก็คือประชาชน และชุมชนท้องถิ่น (Indigenons people and their communities, and other communities) หลักการข้อที่ 22 กำหนดว่ารัฐควรรับรองและส่งเสริมอัตลักษณ์ ( Identity) วัฒนธรรมและ ผลประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3