การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

57 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้ (อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, 2556) มีความเห็นว่า ประชาชนควรจะได้มีส่วนร่วมทั้งในสิทธิที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น รวมทั้ง มีส่วนร่วมในภาระหน้าที่ในการดูแล แก้ไข และฟื้นฟูคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น จึงถือเป็น หน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการให้ประชาชน คณะบุคคคล และองค์กรพัฒนาเอกชนได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา เหล่านั้นร่วมกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนมีการพัฒนามาจากแนวความคิดที่ว่า สิ่งแวดล้อมถือเป็นสมบัติ ร่วมกันของมนุษยชาติ ดังนั้น ทุกคนจึงควรที่จะมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการจัดการและใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้ หากจำแนกตามบทบาท ความสนใจ และโอกาสที่ประชาชน จะได้รับ อาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) การมีส่วนร่วมที่ริเริ่มโดยรัฐ (Top-down approach) หมายถึง หลักการที่รัฐเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการที่รัฐได้ริเริ่มหรือกำหนดขึ้น กระบวนการของความคิดริเริ่ม หรือความเต็มใจที่จะทำกิจการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการมอบหมาย สั่งการ หรือการขอความร่วมมือ โดยรัฐจะเป็นผู้มีบทบาทคอยชี้นำ ผลักดัน และกำหนดแนวทางให้ประชาชนปฏิบัติ 2) การมีส่วนร่วมที่ริเริ่มโดยประชาชน (Bottom-up approach) หมายถึง การที่ประชาชน ได้มีความคิดริเริ่มและสมัครใจที่จะจัดทำกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เกิดจากความ ต้องการของประชาชนหรือชุมชนนั้นเอง โดยเริ่มตั้งแต่การคิดค้นหากิจกรรมที่จะทำ ตัดสินใจที่จะทำ กิจกรรมนั้น ตลอดจนกำหนดแนวทาง รูปแบบ และวิธีการในการจัดทำกิจกรรมนั้น ๆ ร่วมกันรัฐจะมี บทบาทเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือและให้การสนับสนุนเท่านั้น อีกความเห็นหนึ่ง (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2542) ได้แบ่งระดับการมีส่วนร่วมไว้เป็น 2 ระดับ ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญต่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยที่ระดับของการมีส่วนร่วม ของประชาชนจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความยั่งยืนของการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้ 1) การส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำ หมายความว่า รัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมก็จริง แต่การเข้าร่วมของประชาชนมิได้เกิดจากประชาชนเอง หากแต่เกิดจากรัฐมีการคิด ตัดสินใจ และเห็นว่ากิจกรรมนั้น ๆ สมควรจะให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินการจึงแจ้งและ มอบหมายให้ประชาชนเข้าดำเนินการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับนี้นิยมทำกันในอดีต ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผล เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจะไม่อยู่คงทนต่อเนื่องหากเมื่อใดรัฐยุติ การติดตามหรือไม่เคร่งครัดต่อการดำเนินการแล้ว ย่อมหมายความว่า กิจการนั้นจะถูกยกเลิกในที่สุด 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับสูง หมายความว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน จะเกิดจากความสมัครใจของประชาชน ที่จะเริ่มตั้งแต่คิดค้นหากิจกรรมที่จะทำร่วมกัน ตัดสินใจ ทำกิจกรรมนั้น และปฏิบัติตามกิจกรรมนั้น ๆ โดยเล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์จากการดำเนินการ จนกระทั่งเกิดความรู้สึกว่ากิจกรรมนั้น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในชีวิตประจำวันและเป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำ การมีส่วนร่วมในระดับนี้นับว่ามีคุณค่ามาก เพราะจะทำให้กิจกรรมนั้นๆ มีความยั่งยืน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3