การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

58 นอกจาการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว การเสริมสร้างชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งเป็น อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อเป็นสะพานไปสู่ความยั่งยืน แต่ถึงอย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันสังคม มีความเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตไม่หยุดนิ่ง ความสำเร็จ ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนจะดำรงอยู่ได้ เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สามารถต้านทานได้นั้น คือ ความต่อเนื่อง ที่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้จากการทบทวนบทเรียนและประเมิน สถานการณ์อย่างรอบด้าน มีการปรับเปลี่ยนไปตามบริบทและเงื่อนไขของแต่ละชุมชน หากการ จัดการในกิจกรรมใด ๆ ไม่มีความต่อเนื่อง ถูกละทิ้ง ขาดการสานต่อหรือขาดการพัฒนาปรับปรุง แม้จะเป็นความล้มเหลวในการจัดการเพียงปัญหาใดปัญหาหนึ่ง หรือเป็นสิ่งที่เคยประสบผลสำเร็จ ความเข้มแข้ง และความยั่งยืนที่เคยเกิดขึ้นจะถูกลดคุณค่า เลือนหาย จนนำไปสู่ความล้มเหลวหรือ ล่มสลายในที่สุด เพราะทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกัน การที่ชุมชนประกอบด้วย คน วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ และทรัพยากรท้องถิ่น อีกทั้งยังมี ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับชุมชน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การจัดการชุมชน จะประสบ ผลสำเร็จได้หรือไม่นั้น ผู้นำ (Leader) ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนในการขับเคลื่อน ชุมชนไปสู่เป้าหมาย คุณลักษณะสำคัญจะต้องมี ภาวะผู้นำ (Leadership) คอยชักจูง กำหนด พฤติกรรม ทัศนคติและความเชื่อ รวมทั้งค่านิยมของบุคคลอื่น นอกจากนั้นจะต้องเป็น ผู้มีความสามารถในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่มักเกิดขึ้นในชุมชนได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ชุมชน สามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง และบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ แต่จะต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนด้วย (อุทัย ปริญญาสุทธินันท์, 2561) จากแนวความคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านได้นั้น ชี้ให้เห็นแล้วว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำหรือ การมีส่วนร่วมที่ถูกริเริ่มโดยรัฐ ตามความเห็นของ (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2542) เช่น การที่หน่วยงาน ภาครัฐเป็นผู้นำในการคิดริเริ่มจัดทำโครงการหรือกิจกรรมหนึ่งแล้วจึงแจ้งให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ แต่หากโครงการหรือกิจกรรมเสร็จสิ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยไม่มีการสานต่อ จะทำให้โครงการเหล่านั้นอาจถูกยกเลิก ซึ่งการมีส่วนร่วม ของประชาชนในระดับสูงหรือการมีส่วนร่วมที่ถูกริเริ่มโดยประชาชนนั้น ถือเป็นแนวทางที่สามารถ ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านได้มากกว่า เพราะประชาชนหรือชุมชน เป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองโดยผ่านกระบวนการคิดตกลงใจ และมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการหรือกิจกรรมเหล่านั้น จนเกิดความกระตือรือร้นที่อยากเข้าไปมีส่วนร่วมวางแผน ดูแล บริหารจัดการ และสามารถก่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านได้ ซึ่งในการ จัดการชุมชน เป้าหมายอยู่ที่การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน อีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการจัดการนั้น จะต้องมีความต่อเนื่อง โดยจะต้องเข้าใจสภาพของชุมชนที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และปรับตัว ไปตามบริบทและเงื่อนไข การขับเคลื่อนชุมชนจะต้องอาศัยผู้นำชุมชนที่มีภาวะผู้นำ และ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนด้วย 2.6 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ในตนเอง ครอบครัว ชุมชน องค์กร ประเทศ หรือ ระหว่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหากความขัดแย้งนั้นสามารถคลี่คลาย และเปลี่ยนแปลงไปในทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3