การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

59 สร้างสรรค์ นำไปสู่ข้อยุติ หรือหาทางออกได้ คำว่า ความขัดแย้ง (Conflict) และข้อพิพาท (Dispute) เป็นคำที่ใช้สลับไปมากันได้ แต่ในบางกรณีจะมีความหมายเฉพาะลงไปว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของ ความเห็น หรือความเชื่อที่ต่างกันแต่คู่กรณียังสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่เมื่อขยายกลายเป็น ข้อพิพาทจะกลายเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องมุ่งหมายที่จะเอาชนะให้ได้เพื่อเป้าหมายสูงสุดของตนเอง อย่างไรก็ดีมีนักวิชาการบางสถาบันก็ใช้ในความหมายกลับกันคือ ข้อพิพาท (Dispute) จะรุนแรงน้อย กว่า ความขัดแย้ง (Conflict) ก็มี ปัญหาความขัดแย้งหากไม่มีกระบวนการที่จะทำให้ความขัดแย้งนั้น มีทางออก หรือนำไปสู่ข้อยุติได้ก็อาจกลายเป็นความรุนแรง ทั้งรุนแรงในการใช้คำพูด ภาษา ท่าทาง ตลอดจนการใช้กำลัง เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน เสียเวลา เสียความรู้สึก ฉะนั้น แม้ความขัดแย้ง จะเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่จะต้องมีกระบวนการ วิธีการที่จะคลี่คลายหาทางออก ไม่อาจห้ามไม่ให้เกิดวามขัดแย้งได้ แต่อาจจะทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง ไม่นำไปสู่ ทางตัน และสามารถที่จะสร้างกระบวนการ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาททั้งหลายนั้นได้ อาจศึกษาได้ดังนี้ (วันชัย วัฒนศัพท์, 2547) 2.6.1 พัฒนาการของความขัดแย้ง อาจแบ่งได้ ดังนี้ 1) ความขัดแย้งแฝง (Latent conflicts) ระยะนี้เป็นข้อพิพาทที่มีลักษณะของ ความมึนตึงที่ซ่อนตัวอยู่ ยังไม่พัฒนาเต็มที่และยังไม่ขยายตัวจนเกิดการแบ่งขั้วกันของผู้ที่ขัดแย้ง บ่อยครั้งที่ฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่ายอาจจะยังไม่ตระหนักว่ามีความขัดแย้งหรือตระหนักถึงความขัดแย้ง ที่อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้น เช่น เริ่มมีควาสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น (Emerging conflicts) มีความขัดแย้งเกิดขึ้นที่ฝ่ายต่าง ๆ สามารถระบุออกมาได้ เขารับรู้ว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้น ประเด็นต่าง ๆ ดูจะชัดเจน แต่ยังไม่มีการเจรจา ไกล่เกลี่ย หรือกระบวนการแก้ปัญหาที่น่าจะดำเนินการไปได้เกิดขึ้น 3) ความขัดแย้งที่ปรากฏออกมาแล้ว (Manifest conflicts) เป็นระยะที่ความขัดแย้ง พัฒนาไปเป็นข้อพิพาทซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ได้มีบทบาทอย่างเอาเป็นเอาตายในเรื่องที่ดำเนินอยู่ อาจจะเริ่มมี การเจรจาไกล่เกลี่ยแล้ว หรืออาจจะถึงทางตันแล้วก็ได้ 2.6.2 ชนิดของความขัดแย้ง อาจแบ่งได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้ 1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล เป็นปัญหาพื้นฐานของความขัดแย้ง อาจจะจากข้อมูลน้อยไป การแปลผลผิดพลาด การวิเคราะห์ออกมาด้วยความเห็นต่างกัน หรือแม้แต่ข้อมูลมากเกินไป บางครั้ง ก็เป็นปัญหาความแตกต่างในการรับรู้ข้อมูล (Perception) บางครั้งก็เป็นปัญหาขัดแย้งกันได้ 2) ความขัดแย้งจากผลประโยชน์ (Interest conflict) เป็นเหตุผลแห่งการแย่งชิง ผลประโยชน์ในสิ่งที่ดูเหมือนมีหรือไม่มีเพียงพอเป็นเรื่องของทั้งตัวเนื้อหา กระบวนการ และจิตวิทยา 3 ) ค ว าม ขัดแ ย้ งด้ าน โค รงส ร้ าง (Structural conflict) เป็ น เรื่อ งข อ งอ ำน าจ แย่งชิงอำนาจ การใช้อำนาจ การกระจายอำนาจ ปัญหาโครงสร้างรวมไปถึง กฎ ระเบียบ บทบาท ภูมิศาสตร์ ระยะเวลาและระบบ 4) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (Relationship conflict) เป็นปัญหาด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรมต่าง ๆ ในอดีต อารมณ์ที่รุนแรง ความเข้าใจผิด การสื่อสารที่บกพร่อง ความขัดแย้ง ด้านความสัมพันธ์มีความสำคัญมาก เพราะหากความสัมพันธ์ดีความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น หรือ เกิดแล้วก็สามารถแก้ปัญหาให้กลับคืนมาได้ง่ายกว่า หากความสัมพันธ์ไม่ดีก็จำต้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3