การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
61 จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งนั้น สามารถปรากฏอยู่ในรูปแบบของความขัดแย้งที่ยังแฝงอยู่ ภายในจิตใจ หรือความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น และถูกพัฒนาความขัดแย้งให้เห็นชัดเจน ซึ่งอาจเป็น ความขัดแย้งด้านข้อมูล การแย่งชิง ผลประโยชน์ อำนาจ โครงสร้างทางสังคม กฎ ระเบียบ ความสัมพันธ์ ค่านิยมหรือความเชื่อ ซึ่งการจัดการความขัดแย้งที่สามารถนำมาอธิบายเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านได้นั้น การใช้แนวทางการจัดการความขัดแย้ง โดยการแข่งขัน หรือวิธีการของฉัน การหลีกเลี่ยงหรือยอมถอย การประนีประนอมหรือแบ่งคนละครึ่ง และ การยอมตามหรือแล้วแต่ผู้ใหญ่ จะเห็นได้ว่าอาจไม่สามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งได้ เนื่องจาก ปัญหาความขัดแย้งยังคงมีอยู่ และมิได้ถูกแก้ไขให้คลี่คลายไป สำหรับวิธีการจัดการความขัดแย้ง ด้วยแนวทางการร่วมกันหรือวิธีการของเรา คู่กรณีทั้งสองฝ่ายใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยประสาน ผลประโยชน์ร่วมกัน อาจเป็นทางออกที่สามารถนำไปจัดการปัญหาความขัดแย้ง 2.7 แนวคิดความสมานฉันท์ในสังคม (Social solidarity) Eugen Ehrlich (ค.ศ. 1862-1922) ได้แสดงทัศนะว่า กฎหมายที่แท้จริงไม่ใช่สิ่งที่รัฐบัญญัติขึ้น กฎหมายที่แท้จริงเรียกว่า “กฎหมายในชีวิตจริงทางสังคม” (Living law) คือระเบียบภายในสังคม หรือหลักเกณฑ์ประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนากฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมายของคน ในสังคมนั้นเกิดจากแรงจูงใจอื่นมิใช่ถูกบังคับโดยรัฐ เช่น กลัวเสียชื่อเสียง เป็นต้น เล-อง ดูกิต Léon Duguit (ค.ศ. 1859-1928) เป็นปรมาจารย์ทางนิติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสมีความคิดว่า กฎหมาย เป็นผลผลิตของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในสังคม การมีประโยชน์ร่วมกันของคนในสังคม ทำให้จำเป็นต้องรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมและรัฐ ซึ่งสนองตอบวัตถุประสงค์นี้ ปรากฏตัวอยู่ในลำดับแรกพร้อมด้วยอำนาจในการบังคับที่ไม่อาจขัดขืนได้ภายในรัฐ มีการแบ่งแยก ระหว่าง “ผู้ถูกปกครอง” กับ “ผู้ปกครอง” โดยฝ่ายหลังเป็นผู้ใช้อำนาจบังคับแต่จะต้องอยู่ภายใต้ ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งการใช้กำลังบังคับนั้นเป็นลักษณะประการแรกของการจัดองค์กรของสังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งของรัฐ (ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2563) ในขณะที่สังคมมีชนชั้นแรงงานมากขึ้น แต่ไม่มีการรวมตัวรวมกลุ่มกัน เพื่อจัดให้มนุษย์อยู่ร่วมด้วยกันได้จึงต้องพึ่งพากัน แล ะการจะทำ เช่นนั้นได้ต้องจัดองค์กรหรือระเบียบสังคมทั้งหมดมุ่งสู่การร่วมมือกันอย่างเต็มที่ การรวมศูนย์อำนาจ แบบเดิมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ควรกระจายอำนาจรัฐออกไปและมีกฎหมายประเภทเดียวใช้ต่อผู้ปกครอง และผู้ใต้ปกครองเสมอกัน สิทธิส่วนบุคคลที่มาจากแนวคิดกฎหมายธรรมชาติไม่มีอยู่จริง มีแต่สิทธิ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎหมายในสังคมนั้นควรจะมีบทบาทนำไปสู่การรวมกันมากขึ้น (Collective) ทุกคนต่างต้องทำหน้าที่ร่วมมือกันในการดำเนินชีวิตเพื่อจุดมุ่งหมายแห่งความ สมานฉันท์ของสังคม (Social solidarity) ต่อมาแนวคิดนี้ มีอิทธิพลต่อลัทธิเผด็จการนาซีตลอดจน แนวคิดแบบสังคมนิยม (ดิเรก ควรสมาคม, 2563) Léon Duguit ยังเสนอความคิดทางกฎหมายอีกว่า เนื้อแท้ของกฎหมายเป็น “ Social solidarity” หรือหลัก “ความสมานฉันท์ของสังคม” หรือ “ความเป็นปึกแผ่นของสังคม” เมื่อกล่าวถึง กฎหมายจะกล่าวในฐานะที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเอกชนอย่างเดียวไม่ได้ กฎหมายนั้นแท้จริงเป็นเรื่อง ของสังคม หรือความสมานฉันท์ของสังคม การจะคิดหรืออธิบายเรื่องของกฎหมายจากความสัมพันธ์ ของเอกชนล้วน ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ และการอธิบายว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้นเอกชนมีความเป็นอยู่ของตัวเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3